ไลฟ์ไซน์รายงานว่า เมื่อเดือนที่ผ่านมานักโบราณคดีได้ขุดพบหลุมศพที่ยังไม่มีใครเคยพบ ซึ่งบรรจุร่างที่คล้ายเจ้าชายอีทรูเรียโบราณ (Etruscan) ที่ถือหอก ข้างๆ เถ้าพระชายาของพระองค์ ซึ่งสื่อหลายสำนักได้รายงานการค้นพบพระศพเจ้าชายนักรบอายุกว่า 2,600 ปีนี้ ทว่าจากการวิเคราะห์กระดูก จูดิธ ไวน์การ์เทน (Judith Weingarten) ศิษย์เก่าบริติชสคูล (British School) ในเอเธนส์ เขียนอธิบายในบล็อกส่วนตัวว่า แท้จริงแล้วพระศพเจ้าชายนักรบนั้นคือเจ้าหญิง หลุมศพใหม่นี้ถูกขุดพบโดยนักโบราณคดีในทัสกานี อิตาลี อยู่ในสุสานชาวอิทรูเรียโบราณที่ตารควินิอา (Tarquinia) แหล่งมรดกโลกของยูเนสโก (UNESCO) ซึ่งมีหลุมศพที่ตัดหินเป็นส่วนๆ กว่า 6,000 หลุม ซึ่งไลฟ์ไซน์ระบุว่านักประวัติศาสตร์มีความรู้ค่อนข้างน้อยเกี่ยวกับ วัฒนธรรมชาวอีทรูเรียที่เคยรุ่งเรืองในดินแดนของอิตาลีในอดีต จนกระทั่งถูกดูดกลืนเป็นพลเมืองโรมันเมื่อ 400 ปีก่อนคริสตศักราช ชาวอีทรูเรียโบราณไม่มีเอกสารประวัติศาสตร์หลงเหลือเหมือนชาวกรี กโบราณและชาวโรมัน ดังนั้น หลุมศพของพวกเขาจึงเป็นช่องทางเดียวให้เราส่องไปถึงวัฒนธรรมของพวกเขา อะเลสซันโดร มันโดเลซี (Alessandro Mandolesi) นักโบราณคดีจากมหาวิทยาลัยตูริน (University of Turin) อิตาลี ผู้ขุดค้นบริเวณสุสานดังกล่าว อธิบายแก่ไลฟ์ไซน์ว่า โถงใต้ดินมีอายุย้อนไปถึง 6 ศตวรรษก่อนปีคริสตศักราช และมีช่องขุดเข้าไปในหินเป็นที่นอนสำหรับฌาปนกิจ 2 เตียง เมื่อทีมขุดเคลื่อนย้ายแผ่นวัสดุปิดผนึกออกจากหลุมศพ พวกเขาก็พบฐานขนาดใหญ่ 2 ฐาน โดยบนฐานหนึ่งมีโครงกระดูกที่ถือหอก ส่วนอีกฐานเป็นโครงกระดูกที่ถูกเผาเป็นขี้เถ้า และทีมสำรวจยังพบชิ้นส่วนอัญมณีจำนวนหนึ่ง และกล่องถาดทองแดง ซึ่งอาจจะเป็นสมบัติของผู้หญิง และมันโดเลซีระบุด้วยว่า ผนังด้านในหลุมศพยังมีคนโทอารีบอลลอส (aryballos) ซึ่งระบายสีน้ำมันตามสไตล์กรีก-คอรินเธียน (Greek-Corinthian) เบื้องต้นหอกเป็นสิ่งที่บ่งบอกว่าโครงกระดูกบนฐานที่กว้างกว่าเป็น ของนักรบชาย ซึ่งอาจจะเป็นเจ้าชายชาวอีทรูเรีย ส่วนอัญมณีน่าจะเป็นของศพที่สอง ซึ่งน่าจะเป็นพระชายาของเจ้าชายนักรบ แต่การวิเคราะห์กระดูกพบว่า เจ้าชายที่ถือหอกนั้นแท้จริงแล้วคือผู้หญิงอายุประมาณ 35-40 ปี ขณะที่กระดูกโครงที่สองกลับเป็นของผู้ชาย สำหรับหอกนั้นมันโดเลซีให้ความเห็นว่าน่าจะเป็นสัญลักษณ์ความเป็น หนึ่งเดียวระหว่างผู้ตายทั้งสอง แต่ไวน์การ์เทนไม่เชื่อในคำอธิบายว่าหอกเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นหนึ่งเดียว แต่เธอเชื่อว่าหอกนั้นน่าจะแสดงถึงสถานะชั้นสูงของผู้หญิง และใช้คำแสดงความหมายว่าหอกเป็นตัวแทนผู้หญิง การฝั่งศพของชาวอีทรีเรียได้ผสมผสานระหว่างแนวคิดยุคเก่าและยุคใหม่ ที่ต่างขั้ว และในกรณีนี้วิถีชีวิตของชาวกรีกโบราณและชาวโรมันได้บิดเบือนความหมายของการ ฝังศพนี้ ตามที่ ธีโอปอมปุส (Theopompus) นักประวัติศาสตร์ชาวกรีกบันทึกไว้ ขณะที่หญิงชาวกรีกจะเก็บเนื้อเก็บตัว แต่หญิงชาวอีทรูเรียนั้นมีอิสระมากกว่า ออกไปทำงานนอกบ้าน เปลือยในที่สาธารณะ เมาได้เต็มที่ มีคู่ครองได้มากหน้าหลายตา และเลี้ยงดูบุตรที่ไม่รู้ว่าใครคือพ่อ ทางด้านไวน์การ์เทนกล่าวว่า แทนที่จะตีความจากสิ่งที่พบในหลุมศพ นักโบราณคดีควรอิงการวิเคราะห์กระดูก หรือการตรวจสอบอื่นที่เชื่อถือได้ ก่อนจะด่วนสรุป ซึ่งจนถึงทุกวันนี้ในบางประเทศก็ยังคงระบุเพศในแหล่งโบราณคดีโดยอิงจากสิ่ง ของที่อยู่ในหลุมศพ ซึ่งมักจะถูกตัดสินจากความคิดอคติที่เชื่อก่อนจะได้พิสูจน์ ดังตัวอย่างอัญมณีเครื่องประดับที่เรามักเชื่อมโยงกับผู้หญิง “มันไม่มีเหตุผลมากนักสำหรับโลกโบราณ หนุ่มๆ ก็ชอบของวิบๆ วับเหมือนกัน” ไวน์การ์เทนกล่าว |
||||
|
||||
|
||||
|
||||
|
||||
|
||||
|
||||
|