ชื่อท้องถิ่น | เห็ดระโงกเหลือง |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Amanita calyptroderma Ark. et Bal. |
วงศ์ | AMANITACEAE |
ลักษณะเห็ดรา | ดอกเห็ดอ่อนมีเยื่อหุ้มหนา รูปกลมหรือรูป
ไข่ ขนาด 3-4×3-5 เซนติเมตร เมื่อเจริญขึ้นผิวด้านบนปริแตกออกเป็นรูป
ถ้วย หมวกเห็ดรูปไข่ สีน้ำตาลอมส้มหรือน้ำตาลอมเหลือง เมื่อกางออกจะเป็น
รูปกระทะคว่ำแล้วแบนราบ เส้นผ่าศูนย์กลาง 6-12 เซนติเมตร ผิวเรียบเป็นมัน
และหนืดมือเมื่ออากาศชื้น ขอบเป็นริ้วยาว 0.5-1 เซนติเมตร โดยรวมเห็นชัดเจน
ตั้งแต่โผล่ออกจากเยื่อหุ้ม ครีบสีขาวนวล ไม่ยึดติดกับก้าน ก้านสีขาว
นวล ยาว 5-10 ซม เส้นผ่าศูนย์กลาง 1-3 ซม ภายในสีขาวมีรูกลวง แอนนูลัส เป็น
แผ่นบางสีขาวห้อยติดอยู่บนก้าน |
ฤดูกาลที่พบ | ฤดูฝน |
ประโยชน์และโทษ | สามารถรับประทานเป็นอาหารได้ |
ชื่อท้องถิ่น | เห็ดน้ำหมากขาขาว |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | |
วงศ์ | |
ลักษณะเห็ดรา | หมวกมีสีแดงอมชมพุขามีสีขาวเกิดบนพื้นดินป่าผล้ดใบกลางหมวกเป้นแอ่งเล้กเนื้อแน่นกินได้ |
ฤดูกาลที่พบ | สิงหาคม-กันยายน |
ประโยชน์และโทษ | ใช้ทำเป็นอาหาร |
ชื่อท้องถิ่น | ติ้วหมาแหงน ติ้วหม่อน |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Cratoxylum cochinchinense (Lour.) Blume |
วงศ์ | GUTTIFERAE |
ลักษณะพืช | ไม้พุ่ม สูง 2-3 เมตร เป็น ใบเดี่ยว รูปรี ออกตรงข้าม ปลายใบแหลมโคนใบลิ่ม ผลออกทุกที่เป็นรูปวงรี กลีบเลี้ยงติดทน |
ฤดูกาลออกดอกและผล | สิงหาคมถึงกันยายน |
การใช้ประโยชน์ | น้ำยางจากเปลือกต้น แก้ส้นเท้าแตก |
ชื่อท้องถิ่น | เห็ดมันปู หรือ เห็ดขมิ้น |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | |
วงศ์ | CANTHARELLACEAE. |
ลักษณะเห็ดรา | หมวกเห็ดสีเหลืองอ่อน บานเป็นแฉก ขอบหมวกบาง หยัก เป็นลอน โคนดอกอวบสั้นสีขาว ผิวของดอกเห็ดจะเรียบ การยึดติดของดอกจะมีหยัก ก่อนติดก้าน ลักษณะของครีบคล้ายฟันเลื่อยเล็กๆ การเรียงตัวของครีบสานกัน เป็นตาข่าย ลักษณะของโคนก้านรูปทรงจะเรียบแบน ความกว้างของดอก ประมาณ 1-5 เซนติเมตร ความสูงประมาณ 4-5 เซนติเมตร |
ฤดูกาลที่พบ | ฤดูฝน |
ประโยชน์และโทษ | นำมาแกงผัด หรือลวกจิ้มน้ำพริก |
ชื่อท้องถิ่น | กลอย |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Dioscorea hispida Dennst. |
วงศ์ | DIOSCOREACEAE |
ลักษณะพืช | ลำต้นกลมมีหนาม มีหัวใต้ดินส่วนมากกลมบางทีเป็น พู ใบเป็นใบประกอบย่อย 3 ใบ ใบกลาง แผ่นใบรูปรีขอบขนาน กว้าง 5 - 7 ซม. ยาว 10 -12 ซม. ปลายใบเรียวแหลม โคนใบแหลม อีกสองใบ เป็นใบรูปไข่กว้าง 6-8 ซม. ยาว 11 -15 ซม. |
ฤดูกาลออกดอกและผล | |
การใช้ประโยชน์ | หัวสามารถรับประทานได้ โดยต้องแช่ในน้ำทิ้ง ไว้ 2 - 3 วัน ล้างให้สะอาดนำมาปรุงอาหาร หัวตากแห้งปรุงเป็นยาแก้น้ำ เหลืองเสีย ขับปัสสาวะ แก้ปวดข้อ ฝีมะม่วง |
ชื่อท้องถิ่น | เห็ดตาโล่ ,ตาโปน |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Calostoma sp. Tulostoma |
วงศ์ | SCLERODERMATACEAE |
ลักษณะเห็ดรา | ลักษณะดอกเห็ดเป็นก้อนกลมมีวุ้นล้อมรอบ ดอกอ่อนมี
ลักษณะเป็นรูปวงกลม เส้นผ่าศูนย์กลางดอก 3.0-4.0 เซนติเมตร เมื่อผ่าครึ่ง
ดอกจะพบว่าลักษณะภายในดอกเห็ดสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชั้น คือ ชั้นนอกมี
ลักษณะเป็นวุ้นสีน้ำตาลอ่อนอมเหลืองหรือสีขาวอมเหลืองห่อหุ้ม ความหนาของ
ชั้นที่ห่อหุ้มหนา 0.5-1.0 เซนติเมตร ชั้นในมีลักษณะเป็นก้อนกลมสีขาวอัด
ตัวกันแน่น เส้นผ่าศูนย์กลางของก้อนกลมสีขาวซึ่งเป็นสปอร์ที่อัดกันแน่น มี
ขนาด 2.5-3.0 เซนติเมตร เมื่อดอกแก่พบว่าดอกเห็ดเจริญมีก้านชูขึ้น หมวก
ดอกมีลักษณะคล้ายดอกบัว(ที่อยู่ของ สปอร์) ลักษณะก้านดอกแก่มีลักษณะเป็น
ร่องพลูเรียงกันตามยาว มีสีขาวอมน้ำตาลอ่อน ลื่นคล้ายมีเมือกห่อหุ้ม
เปราะ หักง่าย ขนาดก้านดอก
แก่ กว้าง 1.0-1.5 เซนติเมตร ยาว 4.5-5.0 เซนติเมตร สปอร์ (Basidiospore) สปอร์
มีลักษณะเป็นรูปทรงกลม ผิวสปอร์ขรุขระมีหนามโดยรอบ ขนาด
สปอร์ 9.45-21.6 x 9.45-21.6 ไมโครเมตร สีของสปอร์ภายใต้กล้องจุลทรรศน์
ไม่มีสี พิมพ์สปอร์มีสีขาวครีม |
ฤดูกาลที่พบ | เดือนกันยายน-เดือนตุลาคม/ |
ประโยชน์และโทษ | ประโยชน์สามารถรับประทานได้ |
ชื่อท้องถิ่น | ผักชีช้าง |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Asparagus racemusus Willd. |
วงศ์ | ASPARAGACEAE |
ลักษณะพืช | สูง1.5-4 เมตรฏเเป็นไม้เถามีหนามแหลมใบเดี่ยวเรียง สลับแผ่นใบเป็นแคบเรียงเส้นคาบยาวกว้าง0.5-1 มม. ยาว 10-36 มม. ดอกเล็กสี ขาวออกเป็นช่อ ผล เป็นวงกลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 4-6 มม. |
ฤดูกาลออกดอกและผล | |
การใช้ประโยชน์ | กินเป็นผัก แก้ไข้ เอารากไปบดเป็นยาลู กกลอน ยาอายุวัฒนะ แก้โรคมะเร็ง |
ชื่อท้องถิ่น | ก้นครก |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Polyathia debilis (Pierre) Finet & Gagnep. |
วงศ์ | ANNONACEAE |
ลักษณะพืช | ไม้พุ่ม สูงประมาณ 40 ซม. ลำต้นสีน้ำตาล ใบเป็นใบ เดี่ยว เรียงสลับ รูปใบรูปรี กว้าง 3.0-4.0 ซม. ยาว 6.0-8.0 ซม. โคนใบ มน ปลายใบแหลม ผลรูปทรงกระบอก มีขนสีน้ำตาล |
ฤดูกาลออกดอกและผล | ออกดอกและผล มิถุนายนถึงกันยายน |
การใช้ประโยชน์ | รากใช้ฝนดื่มเป็นยาแก้ไข้ |
ชื่อท้องถิ่น | โด่ไม่รู้ล้ม คิงไฟนกคุ่ม |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Elephantopus scaber L. |
วงศ์ | COMPOSITAE |
ลักษณะพืช | เป็นพืชล้มลุกอายุหลายปี ลำต้นสั้น ใบเดี่ยวมีขน นุ่ม เส้นใบมีลักษณะเป็นตาข่ายร่างแห ปลายใบแหลม โคนใบสอบเรียว มีลักษณะใบ เป็นรูปช้อน ขอบใบจักซี่ฟัน กว้าง 6 ซม. ยาว 23 ซม. ลักษณะใบหนาสีเขียว เข้ม ก้านใบใหญ่ กลม สีเขียวอ่อนมีขนอ่อนนุ่ม ลำต้นสีน้ำตาลเข้มสั้น รากมี ลักษณะเป็นรากย่อยออกจากลำต้น |
ฤดูกาลออกดอกและผล | |
การใช้ประโยชน์ | ใช้ทั้ง 5 ส่วน เป็นยาบำรุง |
ชื่อท้องถิ่น | หัวไข่โอบ หัวไก่โอก ทองพันดุล |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Decaschistia parviflora Kurz |
วงศ์ | MALVACEAE |
ลักษณะพืช | พืชลัมลุก สูง 1-2 ฟุต มีเหง้าใต้ดิน ใบ เป็นใบ เดี่ยว เรียงสลับ รูปใบขอบขนาน กว้าง 1-2 ซม. ยาว 4.5 -8 ซม. ปลายใบ แหลม โคนมน ขอบใบเรียบ ก้านใบยาว 0.5-2 ซม. ใบมีขนสาก ดอก เดี่ยว บานเต็ม ที่กว้าง 4-6 ซม. กลีบดอกบางสีชมพู กลีบรูปไข่กลับ เบี้ยว กว้าง 2-2.5 ซม. ยาว 3.5-4 ซม. |
ฤดูกาลออกดอกและผล | ออกดอกและผล สิงหาคมถึงกันยายน |
การใช้ประโยชน์ | ใช้เหง้าใต้ดิน (หัว) กินแก้กระหายน้ำ เป็นยาเย็น หรือเคี้ยวหัวสดช่วยแก้กระหายน้ำ |
ชื่อท้องถิ่น | เห็ดไค,เห็ดหล่มกระเขียว |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Russula virescens Fr. |
วงศ์ | RUSSULACEAE |
ลักษณะเห็ดรา | หมวกเห็ดเป็นรูปกลมสีน้ำตาลอมเหลือง สีขาว เส้นผ่าน
ศูนย์กลาง 7-11 ซ.ม. เมื่อดอกบานค่อยๆกลางออกเป็นเว้าตื้น เนื้อหมวกหนา ผิว
เป็นเมือกเมือกเปียกน้ำ ขอบเป็นริ้ว คลีบสีขาวนวล ก้านเป็นรูปทรงกระบอก สี
ขาวนวล หรือน้ำตาลอ่อน สูงประมาณ 5-10 ซ.ม. ผิวเรียบเนื้อในเห็ดสีขาว บาง
ส่วนเป็นโพรงเล็กๆ สปอร์รูปกลม สีขาวขนาด 7-9*8-10 มคม มีการกระจายพันทาง
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขึ้นเป็นดอกเดี๋ยว ขึ้นในป่าชุ่มชื้น สามารถกินได้ |
ฤดูกาลที่พบ | ฤดูฝน,เดือนกันยายน |
ประโยชน์และโทษ | ทำอาหาร รับประทานได้ |
ชื่อท้องถิ่น | เห็ดน้ำหมาก |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Russula sp. |
วงศ์ | RUSSULACEAE |
ลักษณะเห็ดรา | หมวกดอก (Cap หรือ Pileus) หมวกดอกมีสีแดงสดหรือสี
แดงอมชมพู บริเวณกลางหมวกดอกบุ๋มเว้าลงเล็กน้อย ผิวหมวกดอกแห้ง สาก
มือ บางบริเวณมีลักษณะเป็นคลื่นเว้านูนสลับกัน ดอกอ่อนหมวกดอกม้วนงอเกือบ
ติดก้าน ดอกแก่หมวกดอกบานแผ่กางออกเป็นทรงร่ม ขอบหมวกดอกเรียบแต่มีลักษณะ
หยักเป็นคลื่นและงอลงเล็กน้อย ดอกแก่มากๆ หมวกดอกมีลักษณะงอขึ้นเป็นรูป
ทรงกรวย บางดอกขอบหมวกดอกฉีกขาด เนื้อภายในหมวกดอกมีสีขาว นวล นุ่ม มีรอย
กัดแทะของสัตว์ ขนาดหมวกดอก
กว้าง 5.0-8.0 เซนติเมตร ยาว 5.5- 10.0 เซนติเมตร ครีบดอก (Gill หรือ Lamella) ครีบดอก มีสีขาวนวลหรือขาวอมครีม เป็นแผ่นหนา ลักษณะเป็นครีบยาวเท่ากันตลอดไม่มี ครีบสั้นสับหว่าง จำนวนครีบประมาณ 8-13 ครีบ ต่อ 1.0 เซนติเมตร ก้าน ดอก (Stalkหรือ Stipe) ก้านดอกมีสีขาวอมชมพูแดง ผิวก้านดอกเรียบ แห้ง ลักษณะก้านดอกแข็งแต่เปราะ เนื้อภายในก้านดอกมีสีขาวและมีลักษณะเป็น ขุยผงนุ่ม ซึ่งอาจเกิดจากการกัดแทะของสัตว์ ขนาดก้านดอก กว้าง 1.3-2.0 เซนติเมตร ยาว 2.5-5.0 เซนติเมตร ก้านดอกด้านที่ติดกับครีบ มีขนาดกว้างน้อยกว่าบริเวณโคนก้านดอกเล็กน้อย แต่ในบางดอกก้านดอกด้านที่ อยู่ติดกับครีบมีความกว้างมากกว่าบริเวณโคนก้านดอก สปอร์ (Basidiospore) สปอร์มีลักษณะเป็นรูปทรงกลม ผิวสปอร์ขรุขระมีหนาม โดยรอบหนาม ขนาดสปอร์ 8.1-10.8 x 8.1-10.8 ไมโครเมตร (ดังภาพ ที่ 34.2) สปอร์ภายใต้กล้องจุลทรรศน์ในน้ำกลั่นใสไม่มีสี พิมพ์สปอร์มีสี ขาว |
ฤดูกาลที่พบ | เดือนกันยายน-เดือนตุลาคม |
ประโยชน์และโทษ | รับประทานได้ |
ชื่อท้องถิ่น | ติ้วขาว,ติ้วส้ม |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Cratoxylum formosum (Jack) Dyer |
วงศ์ | GUTTIFERAE |
ลักษณะพืช | สูงประมาณ 3-8 เมตรลักษณะใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงตรง
ข้ามปรายใบรูปมนหรือแหลมโคนใบมน ใบ
กว้าง 2.5 เซนติเมตร ยาว 5-6.5 เซนติเมตร ก้านใบยาว 0.5 เซนติเมตร ลักษณะผล เป็นรูปวงรีมีกลีบดอกติดทน ผลออกตามปลายยอด ตามกิ่ง ซอกใบ ผล กว้าง 0.3-0.4 เซนติเมตร ยาว 1.5-2 เซนติเมตร |
ฤดูกาลออกดอกและผล | เดือนธันวาคม |
การใช้ประโยชน์ | เป็นยาระบาย ใช้ทำอาหาร,ยางใช้ทาส้นเท้าแตก |
ชื่อท้องถิ่น | ว่านแมงมุม |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | |
วงศ์ | ORCHIDACEAE |
ลักษณะพืช | พืชล้มลุก สูงประมาณ 75 ซม.มีลักษณะลำต้นมาหายอด คล้ายกับต้นมะพร้าวที่กำลังแทงยอดออกจากลูกมะพร้าว เป็นพืชใบเดี่ยว คล้าย ต้นกระเจียวแต่ใบจะเขียวเข้มกว่า ใบกว้าง 10 ซม. ยาว 47 ซม. ปลายใบแหลมใบ ด้านบนเรียบ ด้านล่างจะมีก้านใบที่แข็งและเรียงตัวตามความยาวของใบ ประมาณ 7 เส้น ส่วนหัวใต้ดินจะมีหัวค่อนข้างกลมต่อกันเหมือนกับโครงสร้าง อะตอมหรือคล้ายตัวแมงมุมต่อกันรอบโคลนและมีรากรอบหัว |
ฤดูกาลออกดอกและผล | |
การใช้ประโยชน์ | หัวหรือเหง้า ฝนกับน้ำมะนาว แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย |
ชื่อท้องถิ่น | มะกอกเกลื้อน บักเหลี่ยม |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Canarium subulatum Guillaumin |
วงศ์ | BURSERACEAE |
ลักษณะพืช | ไม้ต้น สูง 10-25 เมตร เปลือกสีเทาแตกเป็นร่องตามยาว และเป็นเกิด ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ ยาว 20-30 ซม. ใบย่อย 5-11 ใบ รูป ไข่ กว้าง 3-11 ซม. ยาว 9-18 ซม. ปลายใบแหลม เป็นติ่งแหลม โคนมนหรือ ตัด ดอก เล็ก สีขาวออกเป็นช่อตามซอกใบ ผล รูปไข่ กว้าง 1.5-2 ซม. สีเขียว อมเหลือง ก้านใบ ยาว 1-2 ซม. |
ฤดูกาลออกดอกและผล | ออกดอกเดือนกรกฎาคม ออกผลเดือนกันยายน |
การใช้ประโยชน์ | ลำต้นทำกระดานปูบ้าน ผลนำไปดองรับประทาน เนื้อเมล็ดกินได้ ยาระบาย |
ชื่อท้องถิ่น | ก้นถ้วย |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Rhodammia dumetorum (DC.) Merr. & L.M. Perry |
วงศ์ | MYRTACEAE |
ลักษณะพืช | เป็นไม้พุ่ม 1-2 เมตร ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม ใบรูป ไข่ ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ก้านใบ 0.5-1 ซ.ม. ใบกว้าง 1-1.5 ซ.ม. ใบ ยาว 2-5 ซ.ม. ผลกลมสีแดง ผลสุกสีดำ ช่อผลออกตามซอกใบ ก้านผล 1 ซ.ม. |
ฤดูกาลออกดอกและผล | สิงหาคม-กันยายน |
การใช้ประโยชน์ | รักษาแผล |
ชื่อท้องถิ่น | ผีพวน เครือผีผ่วน |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Uvaria pierrei Finet & Gagnep. |
วงศ์ | ANNONACEAE |
ลักษณะพืช | เป็นไม้พุ่มรอเลื้อย ใบเดี่ยวเรียงสลับ ปลายใบเรียว แหลม โคนใบตัด ขอบใบเรียบ กว้าง 3.5-5 ซม. ยาว 8-14.5 ซม. ใบมีขนนุ่มตลอด ใบ ก้านช่อผลยาว 1-2 ซม. ก้านช่อผลย่อย 3-3.3 ซม. ผลรีหรือกลม กว้าง 2-3 ซม . ยาว 3-6 วม. ผลย่อย 4-12 ลูก สีส้มหรือแดงสด |
ฤดูกาลออกดอกและผล | กันยายน-พฤศจิกายน |
การใช้ประโยชน์ | ผล กินได้ |
ชื่อท้องถิ่น | หญ้าอึ่ง |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | |
วงศ์ | LEGUMINOSAE - PAPILIONOIDEAE |
ลักษณะพืช | ไม้พุ่ม สูง 1-2 ฟุต เป็นใบประกอบ เรียงสลับ รูปวงรี ปลายมน โคนรูปลิ่ม ขอบใบเรียบ มีขน กว้าง 0.9-1.2 ซม. ยาว 1.9-3.3ซม. ดอกสี ขาวขนาดเล็ก ดอกบานมีสีชมพูอ่อน |
ฤดูกาลออกดอกและผล | กันยายน ถึงตุลาคม |
การใช้ประโยชน์ | เป็นยาสมุนไพรแก้หมาดขาวในผู้หญิง |
ชื่อท้องถิ่น | ว่านพญาลิ้นงู |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | |
วงศ์ | |
ลักษณะพืช | เป็นพืชหัว ใบเดี่ยว ใบเรียวยาว ปลายแหลม ขอบใบเรียบ กว้าง 0.5-1.5 ซม.ยาว35-40 ซม. หัวคล้ายหัวกระเทียม,หอมแดง มีสีขาว |
ฤดูกาลออกดอกและผล | |
การใช้ประโยชน์ | บรรเทาอาการแมลงกัดต่อย โดยนำหัวมาฝนผสมกับน้ำมะนาวหรือเหล้า แล้วทาบริเวรที่ถูกกัด |
ชื่อท้องถิ่น | นางแซง โลดทะนง |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Trigonostemon reidioides (Kurz) Craib |
วงศ์ | EUPHORBIACEAE |
ลักษณะพืช | ไม้พุ่ม สูง 0.5-2 เมตร ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียง สลับ แผ่นใบรูปขอบขนาน กว้าง 1.5-3.5 ซม. ยาว 5-9.4 ซม. ก้านใบสั่น มี ชน ช่อดอก ออกดอกตามซอกใบ เป็นช่อกระจะ ยาว 5-9.4 ซม. ดอกสีแดงขนาด เล็ก กลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอก 5 กลีบ ผล รูปกลม มี 3 พู เส้นผ่านศุนย์ กลางประมาณ 1.4 ซม. มีขนปกคุลม มีกลีบเลี้ยงสีเขียวติดทน ก้านช่อผล ยาว ประมาณ 6 ซม. |
ฤดูกาลออกดอกและผล | ออกดอกและผล เดือนสิงหาคมถึงกันยายน |
การใช้ประโยชน์ | นำรากไปฝนผสมกับน้ำเหล้า บรรเทาอาการแมลงสัตว์กัดต่อย อาการปวดตามกล้ามเนื้อที่เป็นมะเร็ง |
ชื่อท้องถิ่น | เห็ดหำพระ เห็ดหำฟาน เห็ดขลำหมา |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Mycoamaranthus cambodgensis (Pat.) Trap., Lumyong. R., Sanmes, P. Lumyoung, Zhu L. Yang. |
วงศ์ | MELANOGASTRACEAE |
ลักษณะเห็ดรา | ดอกเห็ดรุปกลมหรือค่อนข้างกลม สีเหลือง เส้นผ่านศูนย์กลาง 1-3 ซม. ดอกเห็ดทั้งอ่อนและแก่มีลักษณะนิ่มยืดหยุ่นคล้ายยางลบ |
ฤดูกาลที่พบ | กันยายน |
ประโยชน์และโทษ | กินได้ |
ชื่อท้องถิ่น | ฮุนไฮ,ไกรทอง,สมัด |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Erythroxylum cuneatum (Miq.) Kurz |
วงศ์ | ERYTHROXYLACEAE |
ลักษณะพืช | ไม้ต้นสูง4-10 เมตรเปลือกเรียบสีน้ำตาลใบเดี่ยวเรียง สลับแผ่นใบรูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับกว้าง2-3.5 ซ.ม. ปลายมนโคนสอบเรียง เนื้อ ใบหนาเกลี้ยงเป็นมันขอบใบเรียงดอกเล็กสีขาวอมเขียวอ่อนออกเดี่ยวหรือเป็นช่อ กระจุก3-4 ดอกตามซอกใบกลีบดอกและกลีบเลี้ยงมีอย่างละ5 กลีบผลรูปไข่แกมขอบ ขนาน มีพูตามยาว 3 พู สุกสีเหลืองหรือแดง |
ฤดูกาลออกดอกและผล | กันยายน |
การใช้ประโยชน์ | กินเป็นอาหาร(ผัก) |
ชื่อท้องถิ่น | เครือเขาคำ สังวาลพระอินทร์ สายไหมป่า ไหมทอง |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Cassytha filiformis L. |
วงศ์ | LAURACEAE |
ลักษณะพืช | พืชอิงอาศัย ลำต้นอ่อนเรียวกลม คล้ายเส้นลวด สี เขียวแกมเหลือง ยอดอ่อนและช่อดอกมีขนนุ่นสีเหลือง ใบไม่มีลดรูปเป็นเกล็ด เล็กๆ ออกเรียงสลับตามลำต้น ดอกเล็กรูปทรงกลม สีเหลืองอ่อน ออกเป็นช่อ ที่ซอกเกล็ดใบตามลำต้น ยาว 1-5 ซม. ผลเนื้อนุ่นค่อนข้างกลม เส้นผ่าศูนย์ กลางประมาณ 5 ซม. ปลายผลประดับด้วยกลีบเลี้ยง 6 กลีบ ผลสุกสีเหลือง อ่อน |
ฤดูกาลออกดอกและผล | ดอกเดือนกันยายน |
การใช้ประโยชน์ | ใช้ทาขี้เรื้อน ถ่ายพยาธิสัตว์ ต้นใช้ปรุงยาแก้ไข้หวัด บำรุงตับไต เส้นเอ็นและแก้ปวดหลัง |
ชื่อท้องถิ่น | ขี้ตุ่น |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Helicteres angustifolia L. |
วงศ์ | STERCULIACEAE |
ลักษณะพืช | ไม้พุ่มสูง 0.5-2 เมตร ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียง สลับ แผ่นใบรูปรีหรือรูปไข่ กว้าง 0.9-3.2 ซม. ยาว 2.1-7 ซม. ปลายเรียว แหลม โคนมน ขอบใบเป็นคลื่น ผล รูปกลมรี กว้าง 1.5-2.1 ซม. ผลอ่อนสีเขียว อ่อน มีขนนุ่มปกคลุม ผลแก่จะแตก |
ฤดูกาลออกดอกและผล | ออกดอก สิงหาคม ออกผล กันยายน |
การใช้ประโยชน์ | ราก นำไปต้ม ใช้เคี้ยวแก้ปวดฟัน |
ชื่อท้องถิ่น | คีรีนกกด ตานกกด |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Ellipanthus tomentosus Kurz |
วงศ์ | CONNARACEAE |
ลักษณะพืช | ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูง 5-10 เมตร ใบเดี่ยว เรียง สลับ ใบรูปรี ปลายใบแหลม โคนใบเป็นโคนมน ขอบใบเรียบ ก้านใบยาว 1-1.5 ซม. ผล เป็นรูปกลมรี กว้าง 2-2.5 ซม.ยาว 4-5 ซม. ผลออกตามช่อกิ่ง ผลมีขนอ่อนนุ่มสี น้ำตาล เมล็ดรรูปกลมสีน้ำตาล |
ฤดูกาลออกดอกและผล | กันยายน ถึงตุลาคม |
การใช้ประโยชน์ | เมล็ดสามารถกินได้ แก่นเป็นยาสมุนไพรแก้ปวดเมื้อยตาม ร่างกาย ลำต้นหรืดกิ่งก้านใช้ทำด้ามจอบ ด้ามเสียม |
ชื่อท้องถิ่น | หยาดน้ำค้าง จอกบ่วาย |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Drosera burmannii Vahl |
วงศ์ | DROSER ACEAE |
ลักษณะพืช | พืชล้มลุก ลำต้นสั่น ใบเดี่ยวเลียงสลับเวียนรอบต้น และซ่อนกันแน่น แผ่นใบรูปไข่กลับถึงรูปโล่ กว้าง 4-6 มม. ยาว 6-10 มม. ปลาย บานและโคนเรียงคอดมีหูใบแยกสามแกผิวใบมีขนปลายเป็นตุ่มมีน้ำเมือกเหนียว ใส ดอกสีขาวออกเป็นช่อเดี่ยวจากปลายลำต้นหรือกลุ่มกลางใบยาว 10-20 ซม. ดอก เรียงเป็นแนวเดี่ยว 2-25 ดอก ผลกลมมีขนาดเล็กมาก |
ฤดูกาลออกดอกและผล | กันยายน |
การใช้ประโยชน์ | ยาเย็น แก้ร้อนใน |
ชื่อท้องถิ่น | มะพอก พอก |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Parinari anamense Hance |
วงศ์ | CHRYSOBALANACEAE |
ลักษณะพืช | ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูง 10-15 เมตร เป็นใบ เดี่ยว เรียงแบบสลับ ใบรูปไข่ ปลายใบแหลมหรือมน โคนใบมน ก้านใบยาว 0.3-1 ซม . กว้าง 2-6 ซม. ยาว 5-15 ซม. กิ่งมีขนนุ่มสีน้ำตาล ใต้ใบเป็นสีขาวมีขน เล็กๆปกคลุม หน้าใบมีสีเขียว ผลกลมรี ออกตามปลาย ยอด กว้าง1.5-2 ซม. ยาว 2-3 ซม. มีสีน้ำตาล |
ฤดูกาลออกดอกและผล | ออกผล กันยายนถึงตุลาคม |
การใช้ประโยชน์ | -นำลำต้นไปทำกระดานบ้าน -ผลกินได้ -เมล็ดใช้ทำน้ำมัน |
ชื่อท้องถิ่น | หนามคลอง |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Ziziphus cambodiana Pierre |
วงศ์ | RHAMNACEAE |
ลักษณะพืช | เป็นไม้พุ่มสูง2-3เมตรลำต้นมีหนามแหลม ใบเดี่ยวใบรูปใข่ปลายใบมนโคนใบมนขอบใบเรียบกว้าง3-3.5CMยาว5-6CMก้านใบ ยาว0-7CMผลรูปกลมเส้นผ่านศูนย์กลาง1.5-1.8CMก้านผลยาว0.5CMผลสีเขียวผิว เรียบ |
ฤดูกาลออกดอกและผล | เดือนกันยายน |
การใช้ประโยชน์ | บำรุงกำลัง |
ชื่อท้องถิ่น | เงี่ยงปลาดุก หมากปลาดุก หมากเงี่ยงปลาดุก |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Canthium berberidifolium Geddes |
วงศ์ | RUBIACEAE |
ลักษณะพืช | เป็นไม้พุ่มสูง 1 – 1.5 ฟุต ทรงพุ่มกว้าง 1 ฟุต มี หนามออกตามซอกใบโดยออกตรงข้ามกันหนามยาว 0.5 - 1 เซนติเมตร มีใบเป็นใบ เดี่ยวเรียงวน แผ่นใบกว้าง 0.5 - 1 เซนติเมตร ยาว 1 - 1.5 เซนติเมตร ปลาย ใบรูปหัวใจกลับ โคนใบรูปลิ่ม มีผลออกตามซอกใบโดยออกตรงข้ามกัน ผลดิบสี เขียว ผลสุกสีแดง |
ฤดูกาลออกดอกและผล | |
การใช้ประโยชน์ | ราก เป็นยาสมุนไพรสมานเเผลในกระเพาะอาหาร |
ชื่อท้องถิ่น | หนามแท่ง |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Catunaregam tomentoso (Blume ex DC.) Tirveng. |
วงศ์ | RUBIACEAE |
ลักษณะพืช | เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก 3-4เมตร ตามกิ่งมีขนของสี
น้ำตาล มีหนามยาวแหลม หนามยาว 5-6ซ.ม. ใบเดี่ยว เรียงแบบวนรอบข้อ ใบรูป
ไข่ ปลายใบแหลม โคนใบรูปริ่ม รอบใบคลื่นใบกว้าง 2-4ซ.ม. ก้านใบ0.5-0.8 ซ.
ม. ผลรูปมีขนสีน้ำตาล 3-5 ซ.ม. ผลใช้ซักผ้า,ใบสระผม |
ฤดูกาลออกดอกและผล | เดือนกรกฏาคม-กันยายน |
การใช้ประโยชน์ | ใช้สระผม, ใช้ซักผ้าและย้อมผ้าม แก่นใช้ร่วมกับยาประดงร้อยแปด |
ขอขอลคุณที่มา:::http://www.walai.msu.ac.th