หนูน้อยอินเดียป่วยเป็น “โรคมนุษย์หมาป่า” แต่กำเนิด-แม่ยอมรับ “พระเจ้ากำหนด”


สาวิตา สัมภาจี วัย 26 ปี อุ้มลูกสาววัยไม่ถึง 1 เดือนที่เกิดมาพร้อมกับโรคมนุษย์หมาป่า (Werewolf Syndrome) ซึ่งทำให้เธอมีขนยาวทั่วตัว
       เอเจนซี – ทารกเพศหญิงชาวอินเดียเป็นสมาชิกคนล่าสุดของครอบครัว ซึ่งได้รับการขนานนามจากเพื่อนบ้านว่า “ครอบครัวมนุษย์หมาป่า”
      
       หนูน้อยวัยไม่ถึงเดือนมีความผิดปกติทางพันธุกรรมเช่นเดียวกับญาติๆ หลายคน ซึ่งทำให้เธอมีขนยาวปกคลุมทั่วลำตัวและใบหน้า หรือที่รู้จักกันในชื่อ โรคมนุษย์หมาป่า (Werewolf Syndrome)
      
       สาวิตา สัมภาจี คุณแม่วัย 26 ปี ระบุว่าเป็นห่วงอนาคตของลูก แต่ก็ยอมรับในโชคชะตาของเธอ และไม่เคยนึกรังเกียจไม่ว่าลูกจะมีหน้าตาเช่นไร
      
       “ฉันดีใจที่ลูกเกิดมาปลอดภัย แต่ความผิดปกติของเธอทำให้ฉันเศร้าใจอยู่เหมือนกัน” สาวิตา ให้สัมภาษณ์ที่บ้านในเมือง Madhavnagar ทางตอนกลางของอินเดีย
      
       “ฉันเป็นห่วงอนาคตของเธอ แต่พระเจ้ากำหนดให้เราต้องเป็นเช่นนี้... ฉันเป็นแม่ก็ต้องยอมรับลูก และจะก้าวต่อไปให้ได้”
      
       หนูน้อยซึ่งยังรอการตั้งชื่อจากพ่อแม่เป็นหนึ่งในประชากรโลกไม่กี่ ร้อยคนที่เกิดมาพร้อมกับโรคมนุษย์หมาป่า (Hypertrichosis) ซึ่งไม่มีทางรักษาหาย แต่ความผิดปกติของเธอก็ไม่ได้ทำให้ มิลินท์ ผู้เป็นพ่อชื่นชมลูกสาวคนนี้น้อยลงเลย
      
       โรคมนุษย์หมาป่าแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ hypertrichosis ซึ่งทำให้ผู้ป่วยมีขนยาวปกคลุมทั่วทั้งตัว และ localized hypertrichosis ซึ่งจะทำให้มีขนยาวที่อวัยวะบางส่วน โดยโรคนี้อาจเป็นแต่กำเนิด หรือมาเริ่มเป็นในวัยผู้ใหญ่ก็ได้
ทารกหญิงยังคงรอการตั้งชื่อจากบิดามารดา ซึ่งไม่นึกรังเกียจไม่ว่าเธอจะเกิดมาเป็นเช่นไร
      
4 สาวพี่น้องตระกูลสัมภาจี ซึ่งล้วนแต่ป่วยเป็นโรคมนุษย์หมาป่า
      
อนิตา สัมภาจี วัย 45 ปี มารดาของ 4 สาวพี่น้อง อุ้มหลานสาวที่มีความปกติเช่นเดียวกับแม่และน้าๆ ของเธอ
manager