เชื่อว่ามีคนสงสัยเหมือนกัน เลยไปลองค้นดู นี่คือราคาเมื่อปี 2551
v
v
v
v
v
v
"ความจริงวันนี้"ของราชมังคลากีฬาสถาน
วันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 11162 มติชนรายวัน
"ความจริงวันนี้"ของราชมังคลากีฬาสถาน
ภาพ
ครั้งสุดท้ายที่ผู้ชมเข้ามาเต็มความจุของสนามราชมังคลากีฬาสถาน
ภายในการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) ต้องย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม
2541 ซึ่งเป็นวันที่ทีมฟุตบอลทีมชาติไทยพลิกล็อคเอาชนะเกาหลีใต้ 2-1 ในรอบ 8
ทีมสุดท้ายของการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 13 ที่ไทยเป็นเจ้าภาพ
ซึ่งจำนวนตัวเลขผู้ชมมีเกินความจุสนาม 6 หมื่นคน
อย่าง ไรก็ดี ในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2551 ภาพที่คนจะเบียดเสียดกันจนไม่มีแม้แต่ที่จะยืนในสนามแห่งนี้ อาจจะกลับมาอีกครั้ง แม้รูปแบบการใช้งานจะไม่ตรงตามวัตถุประสงค์หลักของการสร้างสนามเพื่อใช้ใน ด้านกีฬาก็ตาม หลังจากที่บริษัท เพื่อนพ้องน้องพี่ จำกัด นำโดย นายวีระ มุสิกพงศ์ ผู้ดำเนินรายการ "ความจริงวันนี้" ทางช่องเอ็นบีที ได้ขอเช่าสนามเพื่อจัดรายการความจริงวันนี้สัญจรครั้งที่ 2 ตอน "ต้านรัฐประหาร" หลังจากการจัดรายการนอกสถานที่ครั้งแรกที่ธันเดอร์โดม เมืองทองธานี ได้รับการตอบรับจากประชาชน "เสื้อแดง" เป็นอย่างดี จนทะลักออกมานอกโดมที่จุคนได้ราวหมื่นเศษๆ ดังนั้น เมื่อมีการรวมพลคนอุดมการณ์เดียวกันครั้งที่ 2 จึงเลือกสนามที่ใหญ่ที่สุดเป็นที่จัดงาน โดย นางวีรวรรณ พจนวรพงษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจและสิทธิประโยชน์ การกีฬาแห่งประเทศไทย กล่าวว่า บริษัท เพื่อนพ้องน้องพี่ฯ ขอเช่าสนามในวันที่ 1 พฤศจิกายน เพื่อทำกิจกรรมตั้งแต่เวลา 14.00-22.00 น. โดยระบุว่าจะมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมประมาณ 7 หมื่นคน อย่างไรก็ดี ราชมังคลากีฬาสถานน่าจะจุคนได้เต็มที่ประมาณ 6 หมื่นคน แบ่งเป็นที่นั่งบนอัฒจันทร์ 4.5 หมื่นคน พื้นที่รอบลู่วิ่ง 8 พันคน และบนพื้นสนาม 7 พันคน ทั้งนี้ บริษัท เพื่อนพ้องน้องพี่ฯ ต้องเสียค่าใช้จ่ายเบื้องต้น รวมในวันเตรียมงานและวันงานจำนวน 905,850 บาท แบ่งเป็น ค่าเช่าสนาม 2 แสนบาท, เงินค่าประกันความเสียหาย 3 แสนบาท, ค่าจ้างเจ้าหน้าที่ 130,850 บาท, ค่าเช่าลานพลาซ่าด้านนอกอีก 4.5 หมื่นบาท และที่เหลือคือ ค่าเช่าวันเตรียมสนาม ค่าบำรุงสนาม แต่ยังไม่รวมค่าน้ำ ค่าไฟตามใช้จริง "กกท.ต้องให้ บริการประชาชนโดยคำนึงถึงด้านกีฬามา เป็นอันดับหนึ่ง แต่อย่างไรก็ดี ต้องหารายได้ควบคู่กันไป เพราะสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ในสังกัดกระทรวงการคลัง จะตั้งเกณฑ์รายได้ที่หน่วยงานรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งต้องทำให้ได้ในแต่ละปี ซึ่งปี 2551 กกท.ต้องหารายได้จำนวน 185 ล้านบาท ดังนั้น การให้เช่าสนามโดยไม่กระทบต่อประชาชนที่เข้ามาใช้บริการก็ถือเป็นรายได้อีก ทางของหน่วยงาน" นางวีรวรรณกล่าว ตลอดปีที่ผ่านมา สนามยักษ์แห่งนี้สร้างรายได้ให้กับ กกท. รวม 3,537,106 บาท หลักๆ มาจากงานด้านบันเทิง ทั้ง คอนเสิร์ตอัสนี วสันต์, งานถ่ายโฆษณา ภาพนิ่ง โดยมีอัตราค่าบำรุงสถานที่ (ต่อวัน) และหลักเกณฑ์ทั่วไปของผู้จัดงาน ดังนี้ สำหรับกิจกรรมกีฬาและการแสดงดนตรี 2 แสนบาท, นิทรรศการและการส่งเสริมวิชาการ 3 หมื่นบาท, การเปิดตัวผลิตภัณฑ์ 5 หมื่นบาท, การประชุมสัมมนา 2 แสนบาท, การถ่ายทำภาพยนตร์ 4 ชั่วโมงแรก 1.5 หมื่นบาท ต่อไปชั่วโมงละ 4 พันบาท และการถ่ายทำภาพนิ่ง 2 ชั่วโมงแรก 4 พันบาท ต่อไปชั่วโมงละ 2 พันบาทขณะที่อินดอร์สเตเดียม หัวหมาก ที่ตั้งอยู่ใกล้ๆ กัน มีรายได้ในปีงบประมาณ 2551 อยู่ที่ 5,706,616 บาท โดยเหตุที่รายได้สูงกว่าราชมังคลากีฬาสถาน เป็นเพราะใช้ในการจัดคอนเสิร์ตของศิลปินชื่อดังอยู่บ่อยครั้ง อย่างล่าสุดเมื่อ 2 สัปดาห์ก่อน "กอล์ฟ-ไมค์" ศิลปินขวัญใจวัยรุ่นก็เพิ่งจะไปเปิดคอนเสิร์ตใหญ่ ถือเป็นนโยบายของ นายกนกพันธุ์ จุลเกษม ผู้ว่าการ กกท. ที่ต้องการใช้พื้นที่ทุกส่วนของการกีฬาแห่งประเทศไทยให้เกิดประโยชน์สูงสุด บนหลักการที่ต้องไม่กระทบต่อกิจกรรมด้านกีฬาและประชาชนทั่วไป ซึ่งแม้อาจจะดูขัดกันอยู่พอสมควรที่ กกท.ต้องถูกกำหนดเกณฑ์รายได้จาก สคร. ทั้งที่ต้องให้บริการทางสังคมเป็นหลัก อย่างไรก็ดี การให้เช่าสนามจัดกิจกรรมเช่นนี้ก็ช่วยสร้างรายได้ให้กับ กกท.ปีละหลายล้านบาท หากงานในวันที่ 1 พฤศจิกายนนี้ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ก็อาจจะมีครั้งที่ 2 ตามมาอีก และจะถือว่าเป็นรูปแบบการถูกใช้จัดกิจกรรมที่แปลกใหม่สำหรับราชมังคลากีฬา สถาน และการกีฬาแห่งประเทศไทย!? |
|||
|