เหตุผลของการซดแบตกับหลายๆ เรื่องที่คุณยังไม่รู้ !!
โดยปกติแล้วการอัพเดทของ Android และ iOS ทุกคนจะมองว่ามันคือเรื่องธรรมดาของการเปลี่ยนไปของหน้าตาของเจ้า Smartphone ของทุกๆ ท่านครับ โดยที่ท่านทั้งหลายเคยทราบมั้ยครับนอกจาก iOS และ Android จะมีความต่างกันเกี่ยวกับตัวรูปแบบของ OS แล้วยังมีความแตกต่างอย่างลึกซึ่งลงไปอีกด้วยวันนี้ผมจะมาบอกถึงสิ่งแรกที่ ผมเจอมาก่อนนะครับ
อันดับแรกผมใช้งาน App ตัวเดียวกัน ทั้งสอง OS คือ Android และ iOS รุ่นที่เอามาเทสคือ Android Note3 Snapdragon กับ iPhone 5S 16GB วันนี้สิ่งที่ผมเทสคือผมทำการเปิดเกมที่กินสเป็ค 3D ที่สุดทั้งสองเครื่องพร้อมกัน นั้นคือ Alphalt 8 โดยที่แบตทั้งคู่เต็ม 100%
โดยที่ผมออกมาเป็นดังนี้ครับ iOS เมื่อเล่นไปได้สัก 10 นาทีภาพเสียงเต็มสุด แบตหมดไปเกือบ 10% (9%) ส่วน Note 3 แบตหายไป 8% (เพราะแบตมีขนาดใหญ่กว่าด้วยนะครับ) โดยที่ทั้งสองอันนี้หากเรามาด้วยตาเปล่า เราจะไม่เห็นถึงความแตกต่างครับ แต่มันจะไปเห็นตอนที่เราเปิด Android > Setting Battery ครับ เราจะเห็นว่า มีโปรแกรมใดก็ตามที่กำลับสูบแบตเราอยู่ใน Multilask บาง (การเปิด Multitask ทำได้โดยการกดปุ่ม Home บนเครื่อง 2 ครั้งติดๆกันนะ) ที่นี้เมื่อเข้าใจภาพแล้ว ผมจะอธิบายต่อนะครับ
Android สาเหตุหลักที่ Android รุ่นเก่าๆ กินแบต มันจะเกิดมาจากปัญหาเดียวกันเกือบทั้งหมดบนโลกตั้งแต่สมัย Android OS 2 - 3 นั้นเองครับที่ตอนนี้ปัจจุบันบางรุ่นอาจจะโดนปล่อยให้ไปต่อ OS4 ไม่ได้แล้ว หรือไปได้ก็ต้องใช้วิธีการแหกคอกด้วยการลง Rom โม นั้นเองครับแต่ผมมีข้อสังเกตุดังนี้ครับ App ตัวเดียวกัน ลงทั้ง Android OS2 และ OS4 ตัวล่าสุด
คุณเชื่อหรือไม่ครับว่า OS2 มีการประหยัดแบตที่มากกว่า แต่พอเครื่องรุ่นเดียวกับอัพมา OS4 จะกินแบตมากกว่าทั้งๆที่แอปเดียวกัน สาเหตุมาจากว่า ข้อจำกัดของอุปกรณ์เครื่องนั้น ได้ทำการข้ามขีดจำกัดของ Build FW ไปแล้วนั้นเอง และ การข้ามไปโดยที่ผู้ผลิต และ ผู้พัฒนา ไม่ได้ทำการทดสอบ กล่าวคือ App ของ Android ทุกวันนี้ถ้าไม่ได้ทำแบบติดเครื่องมา แต่ทำแบบ Auto เมื่อมีการเรียกการติดตั้งจาก Play Store ปับ มันจะทำการเรียกมาติดตั้งบนเครื่องของคุณ
และทำการแสดงผลตามขนาดหน้าจอของคุณได้เลย ซึ่งสมัยก่อน จะมีการแยกขนาดของหน้าจอ และ รุ่น แต่เดียวนี้ Android ไม่มีการแยก ยกเว้นแต่ว่าจะไม่สามารถรันหรือทำงานบน CPU นั้นได้ เมื่อสักครู่นี้ผมบอกไปแลว้วเครื่องรุ่นเดียวกัน OS ต่างกัน แอปเดียวกัน แต่เครื่องที่ลง OS ใหม่กลับกินแบตมากกว่าก็สาเหตุอย่างที่ผมแจ้งไปนะครับ มันเกินขีดจำกัด และการแก้ไข Cash ของโปรแกรมนั้น ดังนั้นเลยอยากจะแนะนำว่า ถ้าเป็นไปได้ ให้ศึกษาก่อนการใช้งาน เพราะปัจจุบันยังมีคนไม่รู้เยอะมาก เพราะมันเป็นรายละเอียดที่ปลีกย่อยลงไปอีกเยอะทีเดียว
iOS ปัจจุบันไม่มีการซดแบตจากแอพพลิเคชั่น แล้วยกเว้นแต่ว่าแอพพลิเคชั่นนั้นจะมีการเรียกการใช้งานค่า GPU ที่กินการทำงานของ CPU เยอะๆ จะซดแบตเยอะตามไป อย่างที่ผมบอกในท่อนแรกว่า หากเล่นเกมที่กิน 3D สูงๆ เสียง + ภาพสวยๆ ก็กินเยอะเป็นเรื่องธรรมดา แต่มันไม่ทุกแอพครับ เพราะอย่าลืมว่า ปัจจุบัน iOS มีนักพัฒนาและออกแบบแอพ อย่างที่เราๆเรียกกันว่า DEV ของ Apple นั้นทำงานง่ายเพราะขนาดของ iOS มีแค่ iPhoneทั้งหมด 2 รุ่นที่มีหน้าจอต่างกัน แต่ Android มีหน้าจอที่ต่างกันเยอะมากใน 1 รุ่น ดังนั้นการทำงานของ Apple จึงระเอียดกว่าการทุ่มเทเข้าไปเพื่อพัฒนาจุดแก้แค่โปรแกรมเดียวบนการทำงาน ของ OS
ทั้งหมดนี้มันเกี่ยวทั้งแบต และ OS ดังนั้นถ้าจะเหมาว่าเป็นจากแอปก็ไม่ผิดครับ เพราะแอพบางแอพมันจะมีปัญหาตามมาหลังจากที่เราใช้งานไปได้สักพัก ดังนั้นหากถึงวันและเวลาการเปลียนแปลง สมาร์ทโฟนก็เปลี่ยนไปดีครับ เพราะยุคของ สมาร์ทโฟน ที่เริ่มเข้าทีคือตั้งแต่ปี 2012 นั้นเองครับ ที่เราจะเรียกกันว่าเข้าที และไร้ปัญหาน้อยที่สุด ผมเชื่อว่าทุกคนเห็นภาพที่ผมวาดให้เห็นบนบทความออกครับ
สนับสนุนเนื้อหา: Dr.Bia
sanook.com