10หญิงแกร่ง!!! แห่งปี บนเวทีการเมืองไทย



นางสาว ขัตติยา สวัสดิผล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย อดีตหัวหน้าพรรคขัตติยะธรรม และเป็นบุตรสาวของ พลตรี ขัตติยะ สวัสดิผล (เสธ.แดง
  ขัตติยา สวัสดิผล (ชื่อเล่น: เดียร์) เกิดเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2523 เป็นบุตรของพลตรีขัตติยะ สวัสดิผล กับนาวาเอกหญิงจันทรา สวัสดิผล การศึกษา จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจาก โรงเรียนราชินีบน ระดับปริญญาตรี จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และปริญญาโท ด้านกฎหมาย 2 สถาบัน คือ มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน และมหาวิทยาลัยจอร์จ วอชิงตัน สหรัฐอเมริกา
 
 
                                  
นางสาวรังสิมา รอดรัศมี (เกิด 13 สิงหาคม พ.ศ. 2505) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรสงคราม ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในปี พ.ศ. 2544 ในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ปัจจุบันสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และเป็นนักการเมืองที่ได้รับฉายา "ดาวเด่น" จากสื่อมวลชนประจำรัฐสภา ในปี พ.ศ. 2554


                                 
มัลลิกา บุญมีตระกูล (ชื่อเล่น: ติ่ง) เกิดเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2516 ที่จังหวัดพะเยา เป็นรองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์
 ในอดีตเป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม และผู้ประกาศข่าวและพิธีกรรายการร่วมมือร่วมใจ สถานีโทรทัศน์ไอทีวี
เป็นนักสู้กู้แผ่นดินหญิงที่เด็ดเดี่ยวคนหนึ่ง เคยได้รับรางวัลนักต่อต้านยาเสพติดดีเด่นจากพระองค์เจ้าโสมสวลีพระวรชายาฯ รางวัลยอดกุลสตรีปี 2546จากนิตยสารกุลสตรี รางวัลแสงชัย สุนทรวัฒน์จากสกู๊ปข่าวบ่อขยะสารพิษสู้อิทธิพลปกป้องชุมชน เป็นผู้ก่อตั้งชมรมไซเบอร์ตรวจสอบการกระทำหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
 
 
 
                               
 นางสาวรสนา โตสิตระกูล (27 กันยายน พ.ศ. 2496 -ปัจจุบัน ) เป็นนักรณรงค์ด้านสุขภาพและสิทธิผู้บริโภค มีบทบาทสำคัญในการเปิดโปงขบวนการทุจริต กรณีการจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์ในกระทรวงสาธารณสุข เมื่อ พ.ศ. 2541 ยับยั้งการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2548
พ.ศ. 2549 น.ส.รสนาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา กรุงเทพมหานคร โดยได้รับคะแนนเป็นอันดับ 4 (แต่ไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ เพราะเกิดรัฐประหาร 19 กันยา เสียก่อน) ปัจจุบัน (พ.ศ. 2551) ลงรับสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา กรุงเทพมหานคร หมายเลข 5 โดยได้รับคะแนนเป็นอันดับที่ 1 ซึ่งมีคะแนนนำอันดับที่ 2 นายนิติพงษ์ ห่อนาค นักแต่งเพลงชื่อดังอย่างขาดลอย (น.ส.รสนา โตสิตระกูล ได้คะแนนทั้งหมด 743,397 คะแนน) (นายนิติพงษ์ ห่อนาค ได้คะแนนประมาณ 200,000 คะแนน) ได้รับรองจาก กกต. แล้ว
 
 
 
                                     
วิสาระดี เตชะธีราวัฒน์ อดีตรองโฆษกพรรคเพื่อไทย และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเชียงราย
วิสาระดี (ชื่อเล่น: ยิ้ม) เกิดเมื่อวันพุธที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2524 (31 ปี) เป็นบุตรสาวคนเดียวของวิสาร เตชะธีราวัฒน์ อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย จบการศึกษาจากโรงเรียนศิริมาตย์เทวี อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ก่อนจะเข้ามาศึกษาต่อที่โรงเรียนนานาชาติร่วมฤดี กรุงเทพมหานคร จากนั้นจึงเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี ที่มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ และได้โอนย้ายไปศึกษาต่อในสาขาเศรษฐศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยวูลองกอง (Wollongong) ประเทศออสเตรเลีย และ ปริญญาโท ในสาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ที่มหาวิทยาลัยนอร์ทแทมเบีย (Northumbria) เมืองนิวคาสเซิล ประเทศอังกฤษ
 
 
 
                                         
นางรัชฎาภรณ์ แก้วสนิท (05 เม.ย. 2495-) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ อดีตนักศึกษาหลบหนีเข้าป่าจากเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 "สหายศรัทธา" เป็นชื่อจัดตั้งในพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.)
ในปี พ.ศ. 2550 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบสัดส่วนกลุ่มที่ 3 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 2 ในระบบบัญชีรายชื่อ[3] และได้รับตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน ในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 24
นางรัชฎาภรณ์ เป็นผู้มีบทบาทในการดำเนินการจัดตั้งมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ซึ่งมีการเสนอจัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2554 และอยู่ระหว่างการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร
ในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อปี พ.ศ. 2548 นาถยาได้ลงรับสมัครเลือกตั้งในเขตสะพานสูง กรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ แต่มิได้รับการเลือกตั้ง
 
 
                                
 
นาถยา แดงบุหงา มีชื่อจริงว่า นาถยา เบ็ญจศิริวรรณ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ เป็นอดีตนักแสดงและนางแบบที่มีชื่อเสียง นอกจากจะเป็นดาราสาวที่ได้รับการยกย่องว่า ทั้งสวย ทั้งเก๋ และเก่ง แล้ว เธอคนนี้ยังได้ชื่อว่าเป็น “เจ้าแม่พรีเซ็นเตอร์” แห่งยุคอีกด้วย
ในการเลือกตั้งในปลายปี พ.ศ. 2550 นาถยา ลงรับเลือกตั้งสังกัดพรรคประชาธิปัตย์อีกครั้ง ในเขตเลือกตั้งที่ 7 กรุงเทพมหานคร (บางกะปิ สะพานสูง มีนบุรี ลาดกระบัง) คู่กับ นายประพันธ์ คูณมี และ นายสำราญ รอดเพชร ซึ่งนาถยาได้รับเลือกตั้งไปเพียงคนเดียวในทีม ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้ลงสมัคร ส.ส.กรุงเทพมหานคร เขต 21 ในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และได้รับเลือกตั้งอีกหนึ่งสมัย เคยปะทะฝีปากในสภากับคู่ปรับอย่าง นางสาวขัตติยา สวัสดิผล ลูกเสธแดงอยู่บ่อยครั้ง
 
 
 
                                        
นางปวีณา หงสกุล (5 กรกฎาคม พ.ศ. 2492 -) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นของมนุษย์ ในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นักการเมืองสตรีชาวไทย เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ในรัฐบาลนายชวน หลีกภัย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานครหลายสมัย เป็นที่รู้จักในบทบาทของนักสังคมสงเคราะห์และผู้ดำเนินงานในนามมูลนิธิปวีณา
 
 
                           
 
ดร.ผุสดี ตามไท รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร) และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ และกรรมการบริหาร พรรคประชาธิปัตย์ อดีตที่ปรึกษาผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน) เกิดวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2494 ที่ อำเภอเมือง จังหวัดตรัง เป็นบุตรของ นายจรัส ปิยกุล และนางพรรณฉวี ปิยกุล สมรสกับ นายบดินทร์ ตามไท นักวิชาการอิสระ ประธานมูลนิธิธรรมไทย
ดร.ผุสดี ตามไท เป็นหนึ่งในนักการเมืองสตรี ที่มีบทบาทในการรณรงค์ความเสมอภาคหญิงชาย โดยดำรงตำแหน่งในองค์กรต่างๆ เช่น ผู้อำนวยการสถาบันผู้หญิงกับการเมือง ผู้ประสานงานเครือข่ายผู้หญิงกับรัฐธรรมนูญ กรรมการส่งเสริมและประสานงานสตรีแห่งชาติ
ในการเลือกตั้ง 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ดร.ผุสดี ตามไท ลงสมัครรับเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบสัดส่วน กลุ่มที่ 6 (กรุงเทพมหานคร) ในนามพรรคประชาธิปัตย์ และชนะการเลือกตั้ง ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.อีกสมัย แต่ได้ยื่นหนังสือลาออกอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2556 ต่อนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา เพื่อไปดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
 
 
                                 
 
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (ชื่อเล่น: ปู) เกิดวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2510 เป็นนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 28, นายกรัฐมนตรีหญิง คนแรกของประเทศ, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยสังกัดพรรคเพื่อไทย, กรรมการและเลขานุการมูลนิธิไทยคม ด้วยวัย 44 ปี จัดว่าเธอเป็นนายกรัฐมนตรีไทย ซึ่งอายุน้อยที่สุดในรอบกว่า 60 ปี
    ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เกิดที่จังหวัดเชียงใหม่ สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยเคนทักกีสเตต ในสาขารัฐประศาสนศาสตร์ ต่อมาเป็นผู้บริหารในธุรกิจซึ่งก่อตั้งขึ้นโดย พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 23 ผู้เป็นพี่ชาย และภายหลัง เป็นประธานบริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และประธานกรรมการบริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)
  ในช่วงกลางเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2554 พรรคเพื่อไทย ซึ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับพันตำรวจโท ทักษิณ เสนอชื่อยิ่งลักษณ์เข้าชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้ แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า พรรคเพื่อไทยได้ผู้แทนราษฎร 265 ที่นั่ง นับเป็นครั้งที่สองในประวัติศาสตร์ไทยที่พรรคการเมืองพรรคเดียวครองเสียง ข้างมากในสภา จากนั้นยิ่งลักษณ์ได้รับเลือกจากสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี สืบต่อจากอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง ในวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2554
 
 ที่มา: by คุณชายชุนชู , pantip,วิกิพีเดีย
 http://board.postjung.com/726871.html