10 อันดับ สัตว์กินพืชที่อันตรายที่สุด

มาต่อกันที่เรื่อง "10 อันดับ สัตว์กินพืชที่อันตรายที่สุด"

ที่มา : http://www.toptenthailand.com/topten/detail/20131127135644705

10. Hippopotamus

คงไม่ต้องบอกถึงความ เจ้าอารมณ์และความดุร้ายของเจ้าฮิปโป ขนาดจระเข้ตัวใหญ่ๆยังขยาดเมื่อเห็นฮิปโปเล้ย

9. White Lipped Peccary

เพราะความที่เป็นญาติๆกัน หน้าตาคล้ายกัน ก็เลยถูกเหมาเรียกให้เป็นหมูไปด้วย เจ้าเพคคารีเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดกลางในวงศ์ Tayassuidae ซึ่งเป็นสมาชิกอันดับย่อย Suina เหมือนหมูและหมูป่า (วงศ์ Suidae) และฮิปโปโปเตมัส (วงศ์ Hippopotamidae) โดยสัตว์กลุ่มนี้มีลักษณะเด่นคือ มีเท้าเป็นกีบคู่ ลำตัวอ้วน จมูกและปากยื่นยาว เพคคารีพบในพื้นที่ตะวันตกเฉียงใต้ของอเมริกากลางและใต้ มีอยู่ 4 ชนิดด้วยกัน ได้แก่ ชนิดชื่อว่า Collared Peccary (Pecari tajacu), White-lipped peccary (Tayassu pecari), Chacoan peccary (Catagonus wagneri) เป็นสายพันธุ์ใกล้ชิดกับ Platygonus pearcei ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว ส่วนชนิดที่ 4 คือเพคคารียักษ์หรือ Giant Peccary (Pecari maximus) ที่นักวิทยาศาสตร์ชาวเนเธอร์แลนด์เพิ่งค้นพบในเขตป่าอะเมซอนของบราซิลในช่วง ปี 2000 นับว่าเป็นเพคคารีชนิดใหญ่ที่สุด โดยมีขนาดตัวยาวได้ประมาณ 1.2 เมตร ในขณะที่ชนิดอื่นๆมีตัวยาวขนาด 90-130 เซนติเมตร และตัวเต็มวัยจะหนักประมาณ 20-40 กิโลกรัม จากหลักฐานฟอสซิลพบว่าสัตว์กลุ่มนี้เคยมีชีวิตอยู่อย่างเร็วสุดในช่วงปลาย ยุคอีโอซีน (Eocene-56.5-35.4 ล้านปีก่อน ซึ่งเป็นยุคแรกเริ่มที่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมถือกำเนิดขึ้น) หรือต้นยุคโอบิโกซีน (Oligocene 45-27 ล้านปีก่อน) ในยุโรป นอกจากนี้ยังพบฟอสซิลเพคคารีในทุกทวีป ยกเว้นในออสเตรเลียและทวีปแอนตาร์กติกเท่านั้น ส่วนในดินแดนโลกเก่า (ยุโรป เอเชีย แอฟริกา) เชื่อว่าสูญพันธุ์ไปหลังยุคไมโอซีน (Miocene-23-5 ล้านปีก่อน) แม้จะพบเพคคารีมากในอเมริกาใต้ในปัจจุบัน แต่ความจริงแล้วเพิ่งมาอยู่เมื่อประมาณ 3 ล้านปีก่อน ซึ่งเป็นเวลาที่เกิดการเปลี่ยนแปลง เกิดคอคอดปานามา (Isthmus of Panama) แผ่นดินผุดขึ้นมาเป็นพื้นที่แคบๆเชื่อมทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้เข้า ด้วยกัน ทำให้สัตว์ในอเมริกาเหนือจำนวนมาก รวมถึงเพคคารี ลามะ และสมเสร็จ อพยพไปอเมริกาใต้ และมีสัตว์อเมริกาใต้บางชนิดอพยพขึ้นเหนือด้วยเหมือนกัน อย่างพวกสล็อธบก หน้าตาของเพคคารีจะละม้ายคล้ายหมูมาก ทำให้ค่อนข้างสับสนอยู่บ้างกับหมูป่าในพื้นที่ ซึ่งเดิมเป็นหมูที่ชาวยุโรปที่มาตั้งถิ่นฐานในอเมริกาใต้นำมาจากดินแดนโลก เก่าและหลุดหนีหายไปอยู่ในป่า แต่สิ่งที่ช่วยแยกความแตกต่างระหว่างหมูกับเพคคารีได้คือ รูปร่างลักษณะของเขี้ยวนั่นเอง ซึ่งในยุโรปนั้นหมูจะเขี้ยวยาวและโค้งเข้าหาตัว แต่เขี้ยวของเจ้าเพคคารีจะสั้นกว่าและตรงๆทื่อๆ นอกจากนี้ฟันและเขี้ยวของเพคคารีมีวิวัฒนาการปรับให้เหมาะสำหรับบดเมล็ดพืช แข็งๆได้ กัดรากพืชและเคี้ยวสัตว์เล็กๆ เพราะกินได้ทุกอย่าง แถมยังใช้เป็นอาวุธป้องกันตัวได้อีกต่างหาก เวลาศัตรูเข้ามาใกล้ตัวมันจะใช้วิธีขบเขี้ยวเคี้ยวฟันให้มีเสียงดังขู่เพื่อ ให้ตัวเองพ้นภัย ที่สำคัญเพคคารียังเป็นสัตว์ที่ดุร้ายจนว่ากันว่าไม่สามารถนำมาเลี้ยงให้ กลายเป็นหมูเชื่องๆน่าเอ็นดูเหมือนหมูแถบยุโรป เอเชีย และแอฟริกา เพราะมันจะแว้งกัดเจ้าของหรือใครก็ตามที่เข้ามาใกล้ตัวได้ และเหตุการณ์ร้ายๆอย่างนี้เคยเกิดขึ้นแล้วเมื่อหลายปีก่อนทางภาคตะวันตก เฉียงเหนือของโบลิเวีย ใกล้อุทยานแห่งชาติมาดีดี ซึ่งมีรายงานว่าฝูงเพคคารีกัดคนได้รับบาดเจ็บสาหัสและตายในที่สุด แต่ถ้าไม่ตายคงจะเลี้ยงไม่โตแล้ว!! เพราะเพคคารีเป็นสัตว์สังคม จึงอาศัยกันอยู่เป็นฝูง ซึ่งจากสถิติที่เคยมีมาพบว่า White-lipped peccary อยู่กันเป็นฝูงเกิน 100 ตัวเลยทีเดียว ไปเจอฝูงนี้ก็ถือว่าโชคร้ายล่ะ...วิ่งหน้าตั้งแบบตัวใครตัวมัน แต่ถ้าไปเจอฝูง Collared Peccary และ Chacoan peccary ถือโชคดีหน่อย เพราะอยู่กันประมาณ 20 ตัว

8. Elephant

เป็นสัตว์ที่เชื่อง แต่เวลาที่คุ้มคลั่งจะเป็นนักฆ่าชั้นดี แม้แต่คนเลี้ยงก็ไม่เว้น

7. Cape Buffalo

มองว่ามนุษย์เป็นนักล่าเสมอ และมักจะพุ่งเข้าชนเต็มแรงด้วยน้ำหนักตัว 1,500 ปอนด์และเขาแหลมของมัน

6. Wild Boar

หมูป่า เป็นสัตว์จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กีบคู่ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Sus scrofa เป็นต้นสายพันธุ์ของหมูบ้านในปัจจุบัน มีรูปร่างหน้าตาคล้ายหมูบ้าน แต่มีขนตามลำตัวยาวกว่า ลำตัวมีสีเทาดำ บางตัวอาจมีสีน้ำตาลเข้ม ขนบริเวณหัวชี้ยาวออกไปทางด้านหลัง ตัวเมียมีเต้านม 5 คู่ ลูกที่เกิดใหม่มีสีน้ำตาลเข้มค่อนไปทางดำและมีแถบสีดำพาดผ่านตามยาวลำตัว ดูคล้ายลายของแตงไทย มีขนาดความยาวลำตัวและหัว 135-150 เซนติเมตร ความยาวหาง 20-30 เซนติเมตร มีน้ำหนักประมาณ 75-200 กิโลกรัม โดยตัวผู้จะมีน้ำหนักหนักกว่าตัวเมีย หมูป่าจัดเป็นสัตว์ที่การกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางมาก ทั้งในทวีปอเมริกาเหนือ ทวีปยุโรป ทวีปเอเชียและแอฟริกา และในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็สามารถพบเห็นได้ทั่วไป จึงทำให้มีทั้งหมด 10 ชนิดย่อยด้วยกัน มีนิเวศน์วิทยาและพฤติกรรมสามารถอาศัยอยู่ได้ในหลากหลายสภาพแวดล้อม แต่มักเลือกที่จะอยู่ใกล้แหล่งน้ำ เพราะชอบนอนแช่ปลักโคลนในวันที่มีอากาศร้อน สามารถกินอาหารได้หลากหลายทั้งพืชและสัตว์ขนาดเล็ก เช่น สัตว์เลื้อยคลานหรือแม้แต่ซากสัตว์ด้วย หมูป่าที่อาศัยในป่าที่อยู่ใกล้แหล่งเกษตรกรรมของมนุษย์ อาจจะขโมยกินหัวหรือรากพืชที่ปลูก รวมทั้งถึงนาข้าวด้วย การหาอาหารจะใช้จมูกดุนดินเพื่อขุดหาอาหารใต้ดิน ขณะออกหาอาหารจะส่งเสียงร้องดังอยู่ตลอดเวลา มักหากินในช่วงเวลาเช้าตรู่และยามบ่าย บางครั้งอาจหากินได้ในเวลากลางคืนด้วย มักรวมกันเป็นฝูงใหญ่ ราว 20-100 ตัว โดยจะมีอายุของสมาชิกในฝูงคละเคล้ากันไป เมื่อถึงสภาวะคับขันจะหลบหนีไปตามพุ่มไม้เตี้ย ๆ ตามปกติแล้วหมูป่าเป็นสัตว์ที่ขี้หงุดหงิดและมีอารมณ์ร้าย ศัตรูของหมูป่าได้แก่ เสือโคร่งและเสือดาว เมื่อพบศัตรูตัวผู้จะออกมาทำหน้าที่ต่อสู้เพื่อปกป้องสมาชิกในฝูง ด้วยการพุ่งชนด้วยเขี้ยวที่ยาวโง้งออกมา ซึ่งในตัวเมียไม่มี

5. Rhinoceros

Rhinoceros เป็นสกุลหนึ่งในวงศ์แรด สมาชิกในสกุลมีนอเดียว คำว่า "rhinoceros" มาจากภาษากรีก "rhino" แปลว่า "จมูก" และ "ceros" แปลว่า "เขา" สกุลนี้ประกอบไปด้วยแรด 2 ชนิดคือ แรดอินเดีย (Rhinoceros unicornis) และ แรดชวา (Rhinoceros sondaicus) ถึงแม้ว่าแรดทั้ง 2 ชนิดถูกคุกคามอย่างหนัก แต่แรดชวากลับเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ที่สุดในโลก เหลือประชากรเพียง 60 ตัวเท่านั้นในชวาและเวียดนาม

4. Cassowary

เป็นนกขนาดใหญ่ที่บินไม่ได้ มีความสูงประมาณ 100 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 85 กิโลกรัม ขาสั้น และแข็งแรง ขนทั่วทั้งตัวมีลักษณะคล้ายเส้นผมไม่เหมือนขนนกทั่ว ๆไป ซึ่งช่วยป้องกันดงหนามของไม้พุ่มต่าง ๆ นอกจากนี้ยังเป็นนกที่ไม่มีหางและปีกก็เล็กมาก บนหัวจะมีสันกระดูกดูเด่นสะดุดตา หัวและคอไม่มีขน หนังจะเป็นสีแดง ฟ้า ม่วง และเหลือง ขาจะมี 3 นิ้ว ซึ่งต่างจากนกกระจอกเทศที่มี 2 นิ้ว ทั้ง 2 เพศจะมีลักษณะเหมือนกัน คือขนเป็นสีดำทั่วทั้งตัว แต่ตัวเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้เล็กน้อย เป็นนกที่ขี้อาย ระมัดระวังตัวมาก ปกติจะอยู่ตามลำพัง ยกเว้นในช่วงฤดูผสมพันธุ์จะอยู่เป็นคู่ หากินตอนเย็น ๆ หรือเช้ามืด แต่มันมักจะมีอารมณ์เสียง่าย และชอบต่อสู้ เวลาต่อสู้มันจะยกเท้าเข้าเตะทำให้ศัตรูเกิดแผลฉกรรจ์ได้จากเล็บที่นิ้วเท้า

3. Gorilla

ลิงกอริลลา จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เป็นลิงไม่มีหางชนิด Gorilla gorilla ในวงศ์ Pongidae เป็นลิงที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ตัวสูงขนาดคนแต่ล่ำสันและแข็งแรงกว่ามาก มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา และที่สำคัญดุร้ายมากๆ

2. American Bison

American Bison จะมีลักษณะเหมือนควายแต่จะตัวใหญ่กว่ามากและส่วนหัวจะตันอย่างน่าตกใจ รูปร่างใหญ่มาก ขนดก ศัตรูทางธรรมชาติมีเพียงไม่กี่ชนิด (คนอันดับ1) และก็หมีกริซลี่ และหมาป่า แต่ ถ้าเจอตัวพ่อตัวแม่ Bison ศัตรูแทบจะไม่กล้าสู้ จะสู้ก็ได้แต่ตัวลูก หรือตัวที่เจ็บป่วย แถมชื่อมันยังรวมไปถึงพฤติกรรมของมันด้วย "ใบ" นั้นเอง เพราะมันก็จะผสมพันธุ์กับตัวผู้ และตัวเมียเหมือนกัน บรึ้ย!!

1. Gelada Baboons

มีถิ่นกำเนิดที่เอธิโอเปีย กินพืชเป็นอาหาร ไม่ว่าจะเป็นหญ้าหรือใบไม้ อยู่กันเป็นฝูงและมีฟันที่แหลมคมมาก ถ้าคนเผลอไปยุ่มย่ามกับมันละก็นะ คงไม่ต้องคิด