4 เรือดำน้ำของไทย ในประวัติศาสตร์
ประวัติ เรือดำน้ำของไทย?ในกองทัพเรือไทย
กองทัพเรือ ได้มีแนวความคิดที่จะปรับปรุงและสร้างกำลังรบทางเรือให้เข้มแข็ง และทันสมัยขึ้น ในระยะแรกนั้น ?เรือดำน้ำ เป็นกำลังรบที่ใหม่ ทรงอานุภาพทางทะเลมากที่สุด เพราะสามารถกำบังตัว หรือหลบหนีด้วยการดำน้ำ สามารถเข้าไปปฏิบัติการในพื้นที่ซึ่ง เรือผิวน้ำ ไม่สามารถเข้าไปได้?อาวุธตอร์ปิโด อันเป็นอาวุธสำคัญที่เป็นอันตรายแก่ เรือผิวน้ำมากที่สุด ไม่มีเครื่องมือค้นหา และอาวุธปราบ เรือดำน้ำ ที่จะทำอันตรายแก่ เรือดำน้ำ?ได้ ดังเช่นปัจจุบันนี้
จึงนับได้ว่า เรือดำน้ำ เป็นกำลังสำคัญใน การป้องกันประเทศทางทะเล ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่ง เรือดำน้ำ ได้อยู่ในแนวความคิดของ กองทัพเรือไทย มาตั้งแต่ พ.ศ.2453 แล้ว เห็นได้จากโครงการจัดสร้างกำลังทางเรือ
โครงการจัดสร้างกำลังทางเรือ พ.ศ.2453
โครงการจัดสร้างกำลังทางเรือ นี้มีคณะกรรมการอันประกอบด้วย
นายพลเรือตรี พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหมื่นชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ (ต่อมาเป็น นายพลเรือเอก กรมหลวงฯ)
นายพลเรือตรี พระยาราชวังสวรรค์ (ฉ่าง แสง-ชูโต ต่อมาเป็นนายพลเรือเอก พระยามหาโยธา)
นายพลเรือตรี พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสิงหวิกรมเกรียงไกร (ต่อมาได้เป็นนายพลเรือเอก กรมหลวงฯ)
ได้จัดทำขึ้นถวาย สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงนครสวรรค์วรพินิต (ต่อมาเป็น จอมพลเรือ สมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระฯ) เสนาบดีกระทรวงทหารเรือ และเสนาบดีฯ ทรงนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาท สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 18 มกราคม ร.ศ.129 (พ.ศ. 2453)
โครงการนี้ได้กำหนดให้มี ? เรือ ส.(1) จำนวน 6 ลำ ? ทั้งนี้คณะกรรมการฯ ได้อธิบายไว้ว่า ? เรือ ส. คือเรือดำน้ำสำหรับลอบทำลายเรือใหญ่ข้าศึก?.. แต่ยังกล่าวให้ชัดไม่ได้เพราะยังไม่เคยลงแลลอง แต่ที่พูดถึงด้วยนี้โดยเห็นว่าต่อไปภายหน้าการศึกษาสงครามจะต้องใช้เป็นมั่น คง แต่ไม่ใช่เดี๋ยวนี้? เวลานั้นเรือดำน้ำเป็นอาวุธที่ นาวี ของมหาอำนาจในยุโรปกำลังพัฒนาและทดลองใช้อยู่
ต่อมาใน พ.ศ. 2454 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมหมื่นชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ออกจากประจำการ และต้องจ้าง นายนาวาเอก ชไนด์เลอร์ (J.Schneidler) นายทหารเรือชาติสวีเดน?เข้ามาเป็นที่ปรึกษาการทหารเรือ ในวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2455
นายนาวาเอก ชไนด์เลอร์ ได้เสนอ โครงการจัดสร้างกำลังทางเรือสำหรับป้องกันประเทศ และได้กล่าวถึง ?เรือดำน้ำ? ว่า ?เป็นเรือที่ดีมากสำหรับป้องกันกรุงเทพฯ แต่จะผ่านเข้าออกสันดอนลำบาก ถ้าเก็บไว้ในแม่น้ำก็ไม่คุ้มค้า? และได้เสนอไว้ในโครงการให้มี เรือดำน้ำ 8 ลำ สำหรับประจำอยู่กับ กองทัพเรือจันทบุรี
ทหารเรือไทย และคนไทยได้มีโอกาสเห็น เรือดำน้ำ จริงๆ เป็นครั้งแรกที่ไซ่ง่อนในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2454 ในโอกาสที่ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ เสด็จประพาสอินโดจีนฝรั่งเศส ได้จัด เรือดำน้ำ มาแล่น และดำถวายให้ทอดพระเนตรในบริเวณที่เรือพระที่นั่งมหาจักรีเทียบท่าอยู่
เรือเหล่านี้ขึ้นระวางประจำการแล้ว ได้ปฏิบัติภารกิจที่สำคัญคือ เมื่อเกิด กรณีพิพาทอินโดจีนฝรั่งเศส หลังจากที่ ร.ล.ธนบุรี และ เรือตอร์ปิโด ถูก เรือรบฝรั่งเศส ยิงจมแล้ว เรือดำน้ำ 4 ลำได้ลาดตระเวนเป็นแถว อยู่หน้าบริเวณฐานทัพเรือของอินโดจีนฝรั่งเศส ใช้เวลาอยู่ใต้น้ำทั้งสิ้นลำละ 12 ชั่วโมงขึ้นไป นับเป็นการดำน้ำที่นานที่สุดนับตั้งแต่เริ่มมี เรือดำน้ำ เป็นต้นมา
ข้อมูล teen.mthai.com อ้างอิง navy.mi.th
4 เรือดำน้ำของไทย ในประวัติศาสตร์ เรือดำน้ำกองทัพเรือไทย
เรือหลวงมัจฉาณุ
ประเภท : เรือดำน้ำ
ระวางขับน้ำ : น้ำหนักบนผิวน้ำ 374.5 ตัน น้ำหนักขณะดำ 430 ตัน
ขนาด : ความยาวตลอดลำ 51 เมตร ความกว้างสุด 4.1 เมตร สูงถึงหลังคาหอเรือ 11.65 เมตร
กินน้ำลึก : กินน้ำลึก 3.6 เมตร
อาวุธ : ปืนใหญ่ 76 มม. 1 กระบอก ปืน 8 มม. 1 กระบอก ตอร์ปิโด 45 ซม. 4 ท่อ
เครื่องจักร : เครื่องจักรใหญ่ชนิดดีเซล 2 เครื่อง ๆ ละ 8 สูบ กำลัง 1,100 แรงม้า เครื่องไฟฟ้ากำลัง 540 แรงม้า (ใช้เดินใต้น้ำ)
ความเร็ว : ความเร็วมัธยัสถ์ 10 นอต
รัศมีทำการ : รัศมีทำการ 4,770 ไมล์
ทหารประจำเรือ 33 คน (นายทหาร 5 พันจ่า-จ่า 28)
เรือนี้ต่อที่อู่ บริษัท มิตซูบิชิ เมืองโกเบ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อ พ.ศ.2479
เมื่อครั้งกรณีพิพาทอินโดจีนฝรั่งเศส หลังจาก เรือหลวงธนบุรี และเรือตอร์ปิโด ถูกเรือฝรั่งเศส ยิงจมแล้ว เรือหลวงมัจฉาณุ เรือหลวงวิรุณ เรือหลวงสินสมุทร และเรือหลวงพลายชุมพล ได้ไปลาดตระเวนเป็น 4 แนว อยู่หน้าบริเวณฐานทัพเรือเรียมของอินโดจีนฝรั่งเศส ใช้เวลาดำอยู่ใต้น้ำทั้งสิ้นลำละ 12 ชั่วโมง ขึ้นไป นับเป็นการดำที่นานที่สุด ตั้งแต่ได้เริ่มมีหมวดเรือดำน้ำมาจนกระทั่งได้ถูกยุบเลิกไป ?วันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 ปลดระวางประจำการ
เรือหลวงวิรุณ
เรือนี้เป็นเรือพี่น้องของ เรือหลวงมัจฉาณุ สร้างแห่งเดียวกัน โดยสัญญาเดียวกัน
วันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2479 วางกระดูงู
วันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2479 เรือลงน้ำ
วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2481 เดินทางมาถึงประเทศไทย
วันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2481 ขึ้นระวางประจำการ
วันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 ปลดระวางประจำการ
เรือหลวงสินสมุทร
เรือนี้เป็นเรือพี่น้องของ เรือหลวงมัจฉาณุ สร้างแห่งเดียวกัน โดยสัญญาเดียวกัน
วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2479 วางกระดูงูพร้อมกับ เรือหลวงพลายชุมพล
วันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2480 เรือลงน้ำพร้อมกับ เรือหลวงพลายชุมพล
วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2481 เดินทางมาถึงประเทศไทย
วันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2481 ขึ้นระวางประจำการ
วันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 ปลดระวางประจำการ
เรือหลวงพลายชุมพล
เรือนี้เป็นเรือพี่น้องของ เรือหลวงมัจฉาณุ สร้างแห่งเดียวกัน โดยสัญญาเดียวกัน
วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2479 วางกระดูงู
วันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2480 เรือลงน้ำ
วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2481 เดินทางมาถึงประเทศไทย
วันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2481 ขึ้นระวางประจำการ
วันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 ปลดระวางประจำการ
ซ้าย อานุภาพการระเบิดของ Squid ถ่ายภาพจากเรือผิวน้ำ ขวา เรือดำน้ำ U-333 เหยื่อ Squid ลำแรก ภาพนี้เป็นเหตุการณ์ในปี 1942 ที่ U-333 กับฐานทัพแบบหัวเหวอะ เนื่องจากถูกเรือคอร์เวต HMS Crocus ของอังกฤษโจมตี (แต่ ไม่ใช่ ด้วย Squid) เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 1942 ลูกเรือเสียชีวิตไป 3 นาย มีกำลังพลบาดเจ็บหลายนาย รวมผู้บังคับการเรือ Peter Erich Cremer เรือ U-333 ถูกซ่อมแซมใหม่ และกลับสู่สมรภูมิแอตแลนติกอีกครั้ง จนถูกทำลายโดยเรือรบอังกฤษด้วยอาวุธปราบเรือดำน้ำ Squid ในปี 1944 คะ
การเรียนในห้องได้แก่ การเรียนหลักทั่วๆ ไปของเรือดำน้ำ, ลักษณะต่างๆ ของเรือดำน้ำ, เครื่องยนต์ดีเซล, เครื่องยนต์ไฟฟ้า, รูปและคุณสมบัติของเรือดำน้ำไทย, การถือท้าย, คำสั่งต่างๆ, การเตรียมและปฏิบัติก่อนดำ, เขียนกร๊าฟ, อาการของลิ้นเวนทกับลิ้นคิงสทัน, ทางเดินของน้ำ, อากาศ. น้ำมันของเรือดำน้ำไทย, คำนวณเพื่อแต่งเรือก่อนออกทะเล
การเรียนนอกห้องได้แก่การออกคำสั่งทั้งเวลาบนน้ำและใต้ผิวน้ำ, การทำงานตามคำสั่งนั้นๆ ,หัดถือท้ายด้วยเครื่องถือท้าย, การดูเรือจำลองและเขียนแปลน
cr. teen.mthai