50 ประเด็นน่ารู้ก่อนไปดู The Hunger Games


1. ซูซาน คอลลินส์



คุณแม่ลูกสองวัย 50 ปี ซูซาน คอลลินส์เป็นเจ้าของบทประพันธ์ The Hunger Games ในฉบับนวนิยาย ก่อนที่จะเริ่มเขียนเรื่องราวอันน่าสนใจ เธอใช้เวลาส่วนใหญ่ทำงานกับเด็กๆทางโทรทัศน์ ซึ่งรวมไปถึงการเขียนบทซิทคอม Clarissa Explains It All และโชว์ Wow! Wow! Wubbzy! ของนิค จูเนียร์


2. ชั้นอายกล้องนะ!



ซูซาน คอลลินส์ไม่ ค่อยเปิดเผยตัวต่อสาธารณะเท่าไร ไม่เหมือนกับนักเขียนดังๆอย่างเจเค โรวลิ่งเจ้าของหนังสือพ่อมด หรือสเตฟานี่ เมเยอร์เจ้าของหนังสือแวมไพร์ เพราะเธอไม่ค่อยชอบความมีชื่อเสียง จึงปฏิเสธที่จะออกต่อหน้าสื่อ แม้แต่ทวิตเตอร์เธอยังไม่กล้าเล่นเลย…

3. คำชมครั้งแรก



นวนิยายเรื่องแรกของซูซาน คอลลินส์คือ Gregor The Overlander หนังสือเล่มแรกของนวนิยายชุด The Underland Chronicles เรื่องราวการตามติดชีวิต เกรเกอร์ เด็กชายอายุ 11 ปี ผู้ซึ่งพบว่าตัวเองถูกลากลงไปยังโลกใต้พิภพที่มีประชากรเป็นแมลงยักษ์ ท่ามกลางสงครามที่ต่อสู้กันลึกลงไปจากท้องถนนในมหานครนิวยอร์ก และการเฝ้าตามหาพ่อที่หายตัวไป

นวนิยายเรื่องนี้ได้รับคำชมมากมาย หลังจากวางแผง จนได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลหนังสือเด็กนุตเม็กในปี 2006 และลงท้ายด้วยการคว้ารางวัลที่ 3 ไปครอง อีกทั้งยังได้รับการให้คะแนน 4.5 จากคะแนนเต็ม 5 จากเว็บซื้อขายหนังสือออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดอย่าง Amazon.com

4. The Hunger Games



The Hunger Games ฉบับ หนังสือตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ Scholastic สำนักพิมพ์เดียวกับหนังสือพ่อมดแฮร์รี่ พอตเตอร์ โดยหลังจากวางแผงถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2010 ก็ถูกตีพิมพ์ไปแล้วกว่า 8 หมื่นก๊อปปี้ และปัจจุบันก็ถูกตีพิมพ์ไปแล้วกว่า 2 ล้าน 9 แสนก๊อปปี้และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื้อหากล่าวถึงโลกในอนาคต ที่ทุกๆปี เด็กอายุระหว่าง 12-18 จะต้องมาต่อสู้ความอยู่รอดเพื่อถ่ายทอดเป็นความบันเทิงผ่านจอทีวี!


5. จุดประกาย




แม้ว่าโครงเรื่องของ The Hunger Games ออกจะคล้ายกับนวนิยายญี่ปุ่นเรื่องดัง Battle Royale ของโคชุน ทาคามิอย่างน่าประหลาด แต่คอลลินส์ก็ได้บอกเอาไว้ว่า เธอได้ไอเดียของเรื่องนี้ในระหว่างดูรายการทีวีรอบดึกคืนหนึ่ง ที่เธอเปลี่ยนช่องไปมาระหว่างข่าวสงครามอิรักกับรายการเรียลลิตี้โชว์ นั่นเป็นการจุดประกายความคิดของเธอขึ้นมาทันที

6. Battle Royale



คอลลินส์บอกว่าเธอไม่เคยได้ยิน หรือได้ดูหนัง Battle Royale ก่อนที่เธอจะเขียนเรื่องราวใน The Hunger Games และถึงตอนนี้ก็ยังไม่ได้ดู

“ฉันไม่เคยได้ยินเกี่ยวกับหนังสือ หรือคนเขียน Battle Royale มาก่อน จนกระทั่งหนังสือฉันได้รับการตีพิมพ์” คอลลินส์กล่าว “ในช่วงเวลานั้น มีแต่คนอ้างถึงฉัน ฉันจึงถามบรรณาธิการว่าฉันควรจะไปอ่าน Battle Royale มาก่อนมั้ย แต่เขาตอบฉันว่า: ไม่..ผมไม่อยากให้โลกอย่างนั้นอยู่ในหัวของคุณ แค่ทำในสิ่งที่คุณจะทำต่อไปก็พอ”

7. แรงบันดาลใจอื่นๆ



คอลลินส์เปิดเผยว่า นอกจากที่เธอจะได้ไอเดียจากการดูทีวีในครั้งนั้นแล้ว เธอยังได้แรงบันดาลใจจากตำนานกรีกโบราณ โดยเฉพาะเรื่องราวตำนานของเธซีอุสและมิโนทอร์

“เรื่องราวของฉันได้รับอิทธิพลอย่างมากจากสปาร์ตาคัส” เธอกล่าว “แคทนิส ตัวละครหลักของเรื่องดำเนินชีวิตแบบเดียวกัน จากการถูกกดขี่ไปสู่การต่อสู้เพื่อเผชิญหน้ากับการเอาชีวิตรอด”


8. ครอบครัวทหาร



ส่วนหนึ่งที่ผลักดันให้คอลลินส์เขียน เรื่องราวใน The Hunger Games ก็คือความปรารถนาที่จะให้ความรู้แก่เด็กวัยรุ่นเรื่องความจริงของสงคราม นั่นเป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอย่างแรงกล้าด้วยการเติบโตมาท่ามกลางครอบครัวทหาร

“ถ้าเรารอนานเกินไปกว่านี้ เราจะเหลือความหวังใดอีกล่ะ?” เธอกล่าวแก่ The New York Times “พวกเราคิดว่าพวกเราปกป้องเขาได้ แต่สิ่งที่เรากำลังทำคือการปล่อยให้พวกเขาเจอแต่ความเสียเปรียบ”


9. สงคราม



“เรื่องนี้ไม่ใช่เทพนิยายปรำปรานะ” คอลลินส์กล่าวถึง The Hunger Games “มันคือสงคราม และในสงครามก็มีแต่ความสูญเสียที่ทำให้เราร้องไห้” ซึ่งหมายความว่าใครก็ตามที่เล่นอยู่ในเกม ก็มักจะคาดหวังกับสิ่งที่ไม่คาดคิดเสมอ

10. การตีความ



The Hunger Games ถูกตีความจากหลายบุคคลในหลายสำนัก ใน The New Yoker นักเขียนลอร่า มิลเลอร์ให้ความเห็นเอาไว้ว่า The Hunger Games เป็นหนังสือที่ยอดเยี่ยมในทำนองแฝงคติข้อคิดประสบการณ์ทางสังคมของวัยรุ่น อย่างเพ้อฝัน

อย่างไรก็ตาม คอลลินส์ก็บอกไว้ว่ามันเป็นมากกว่านิทานแฝงคติข้อคิดเพื่อประสบการณ์ของวัย รุ่น “ฉันไม่ได้เขียนเรื่องราวของวัยรุ่น” เธอกล่าว “ฉันเขียนเกี่ยวกับสงคราม… สำหรับวัยรุ่น!”
 
 11. พาเน็ม



ใน The Hunger Games กล่างถึงเมืองพาเน็ม ที่ให้คำจำกัดความเอาไว้ว่าเป็นเมืองที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นสหรัฐอเมริกา เมืองพาเน็มแบ่งการปกครองออกเป็น 13 เขต ประชากรในพาเน็มอยู่ภายใต้การควบคุมของแคปปิตอล แต่ละเขตจะมีการประกอบกิจการพิเศษเพื่อสร้างผลประโยชน์ให้แก่แคปปิตอลแตก ต่างกันไป ประชาชนที่อาศัยในเขตปกครองล้วนมีชีวิตที่แร้นแค้นและทำงานหนัก

12. แคปปิตอล



เขตปกครองหลักของพาเน็มคือ แคปปิตอล เป็นเมืองที่สวยงามที่สุดในพาเน็ม เป็นที่สิงสถิตย์เฉพาะเหล่าคนรวยที่ใช้ชีวิตอย่างสะดวกสบาย ไม่ต้องทำอะไรมาก แค่ใช้ชีวิตไปวันๆ และทำหน้าที่จัดการแข่งขัน The Hunger Games ในแต่ละปี

13. เกมการแข่งขัน



ในแต่ละปี วัยรุ่นหนุ่ม-สาว 2 คนของแต่ละเขตปกครองจะถูกเลือกโดยแคปปิตอล เพื่อเข้าร่วมการแข่งขัน The Hunger Games พวกเขาต้องเล่นเกมนี้ด้วยการต่อสู้เพื่อเอาชีวิตรอด พร้อมการถ่ายทอดสดทั่วเมืองพาเน็ม จะมีเพียงคนเดียวเท่านั้นที่จะเป็นผู้ชนะในการแข่งขัน จุดประสงค์ของการแข่งขันก็เพื่อให้แต่ละเขตรู้ข้อจำกัดของตน คอยเตือนความจำว่าแคปปิตอลมีอำนาจมากเพียงใด

14. เขตปกครองที่ 12



สถานที่อันห่างไกลจากแคปปิตอล เป็นที่ตั้งของเขตปกครองที่ 12 เมืองแห่งเหมืองถ่านหิน การทำงานในเมืองนี้ล้วนแต่มีอุปสรรคและเสี่ยงอันตรายอยู่บ่อยๆ เขตปกครองนี้เป็นหนึ่งในเขตที่ยากจนที่สุด และไม่เคยชนะการแข่งขัน The Hunger Games เลยในรอบ 25 ปีที่ผ่านมา

15. แคทนิส เอเวอร์ดีน



แคทนิส เอเวอร์ดีน สาวนักสู้อายุ 16 ปีแห่ง The Hunger Games เธอเกิดมาเพื่ออยู่รอด พักอาศัยอยู่ในเขตปกครองที่ 12 พ่อของเธอตายในเหตุการณ์เหมืองระเบิด นั่นหมายความว่าเธอต้องดูแลแม่ และพริมโรส น้องสาวอายุ 12 ปีของเธอ

แคทนิสเป็นนักธนูมือหนึ่ง และมักจะหนีเข้าไปในป่าที่อยู่นอกเขต ซึ่งเป็นสิ่งต้องห้าม เพื่อจับสัตว์ป่ามาทำเป็นอาหาร เมื่อพริมโรสน้องของเธอได้รับการคัดเลือกให้ร่วมแข่งขัน The Hunger Games ครั้งที่ 74 แคทนิสจึงอาสาตัวเองเข้าแข่งขันแทน


16. พีต้า เมลลาร์ก



อีกหนึ่งผู้เข้าแข่งขันจากเขตปกครอง ที่ 12 ก็คือ พีต้า เมลลาร์ก มีอายุเท่ากับแคทนิส และเป็นลูกของคนทำขนม แม้ว่าเขากับแคทนิสจะไม่เคยพูดคุยกันมาก่อน แต่เขาก็สงสารที่เห็นเธอไม่มีอะไรจะกิน จึงมอบขนมปังไหม้ๆก้อนหนึ่งให้เธอ

พีต้าก็ได้รับเลือกเข้าแข่งขัน The Hunger Games ครั้งนี้ด้วย นั่นหมายความว่าเขาอาจจะเป็นคนฆ่าแคทนิส หรือไม่ก็โดนแคทนิสฆ่า


17. เดอะฮ็อบ



ตลาดมืดของเขตปกครองที่ 12 เป็นที่ที่แคทนิสมักจะนำสัตว์ป่าที่ล่าได้มาขาย ซึ่งส่วนใหญ่เธอจะขายให้กับหญิงแก่ร่างผอมชื่อว่า Greasy Sae เพื่อเอาไปทำซุป ไม่ว่าจะเป็นสัตว์ชนิดไหนที่จับมาได้

18. เดอะซีม



ส่วนที่แร้นแค้นที่สุดในเขตปกครองที่ 12 ซึ่งเป็นบริเวณที่แคทนิสและครอบครัวของเธออาศัยอยู่ ตั้งอยู่ริมเขตมีต้นไม้เป็นแนวรั้ว ประชาชนในเดอะซีมเหมือนกับเขตทั่วไป มีผมสีดำ ตาสีเทา และผิวสีมะกอก

19. Tributes



เป็นอีกคำหนึ่งที่ใช้ในการแข่งขัน The Hunger Games ความหมายก็ประมาณ ส่วยหรือบรรณาการ ซึ่งในแต่ละปีก็จะมีผู้แข่งขัน 24 คน หรือเรียกเป็นเครื่องบรรณาการ 24 อย่าง มาจากแต่ละเขต เขตละ 2 คน เป็นชาย 1 และหญิง 1

20. พวกมืออาชีพ



พวกมืออาชีพ คือ Tribute ที่มาจากเขตปกครองที่ร่ำรวย ผู้ซึ่งใช้เวลาเตรียมตัวให้ได้รับเลือกเข้าแข่งขัน The Hunger Games โดยพวกมืออาชีพส่วนใหญ่จะมาจากเขตปกครองที่ 1, 2 และ 4 ซึ่งเป็นเขตที่ร่ำรวยมากกว่าเขตอื่นๆในพาเน็ม การได้รับเลือกให้เข้าแข่งขันเหมือนเป็นเกียรติภูมิอันยิ่งใหญ่ ซึ่งพวกเขาก็มักจะชนะการแข่งขันอยู่เสมอ


21. วันเก็บเกี่ยว




เป็นชื่อของการจับฉลากที่จะมีวัยรุ่น 2 คนของแต่ละเขตถูกสุ่มเพื่อเข้าร่วมแข่งขัน The Hunger Games สำหรับในเขตปกครองที่ 12 ผู้ที่ได้รับเกียรติให้เป็นผู้จับฉลากก็คือ เอฟฟี่ย์ ทริงเกต

22. เอฟฟี่ย์ ทริงเกต



พี่เลี้ยงของเขตปกครองที่ 12 หน้าที่ของเอฟฟี่ย์ก็คือคอยดูแลแคทนิสและพีตาไปยังแคปปิตอล เพื่อให้ทั้งสองเตรียมตัวเข้าแข่งขันใน The Hunger Games

เอฟฟี่ย์มักจะคิดว่าตัวเองมีฐานะและการใช้ชีวิตเหมือนกับพวกที่อาศัยในแค ปปิตอล เธอจึงแต่งตัวด้วยเครื่องแต่งกายที่โดดเด่น และทำสีสันบนเส้นผม เธอเป็นคนประเภทหัวสูง และมักวัดคุณค่าจากมารยาททางสังคมเหนือสิ่งอื่นใด


23. หมู่บ้านผู้ชนะ



สถานที่แห่งเดียวในเขตปกครองที่ 12 ที่คล้ายคลึงกับแคปปิตอล หมู่บ้านผู้ชนะเป็นสถานที่ที่ผู้ชนะจาก The Hunger Games อาศัยอยู่อย่างสะดวกสบาย จะมีอยู่เขตละแห่ง

เนื่องจากเขตปกครอง 12 ชนะการแข่งขันแค่ครั้งในเดียวในรอบกว่าหลายปีที่ผ่านมา หมู่บ้านแห่งนี้จึงมีคนอาศัยอยู่เพียงแค่คนเดียวเท่านั้น นั่นก็คือ เฮย์มิทช์ อเบอร์นาธี


24. เฮย์มิทช์ อเบอร์นาธี



เฮย์มิทช์ชนะการแข่งขันครั้งที่ 50 ของ The Hunger Games ในตอนที่เป็นวัยรุ่น ตอนนี้ด้วยความทรงจำที่คอยหลอกหลอนเขาเมื่อครั้งแข่งในเกม เขากลายเป็นคนติดเหล้าและเป็นดั่งตัวตลกสำหรับเขตปกครอง

หน้าที่ของเฮย์มิทช์คือให้คำปรึกษาแก่ผู้เข้าแข่งขันของเขตปกครองที่ 12 เมื่อพวกเขาถูกเลือกให้เข้าร่วมเล่นเกม ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้เขายิ่งดื่มหนักขึ้น เพราะเขารู้ว่าคนที่เข้าแข่งขันเกมนี้ก็ล้วนพาตัวเองไปตายทั้งนั้น


25. เทสเซอร่า



เด็กวัยรุ่นที่มีคุณสมบัติเหมาะสมใน การเข้าร่วมแข่งขัน The Hunger Games ก็จะสามารถส่งชื่อเพื่อเข้าสู่การจับฉลากในวันเก็บเกี่ยวได้หลายครั้งเพื่อ แลกกับอาหาร กระบวนการนี้เรียกว่า เทสเซอร่า

แคทนิสส่งชื่อของตัวเองไปหลายครั้งตั้งแต่เธออายุครบ 12 ปี เพื่อที่จะเลี้ยงดูครอบครัวของเธอ การส่งชื่อในแต่ละปีก็จะสะสมยอดไปเรื่อยๆ นั่นหมายความว่าเธอมีโอกาสที่จะถูกเลือกมากขึ้นเรื่อยๆ


26. เกล ฮอว์ธอร์น



เพื่อนของแคทนิส และเป็นนักล่าเหมือนกัน เกลอาศัยอยู่ในเดอะซีมเช่นเดียวกับแคทนิส เขามีพี่น้อง 3 คน

พ่อของเกลตายในเหตุการณ์เหมืองระเบิด เหตุการณ์เดียวกับที่ฆ่าชีวิตพ่อของแคทนิส นั่นหมายความว่าทั้ง 2 คนมีความผูกพันกันและแบ่งปันประสบการณ์ความสูญเสียในชีวิตด้วยกัน

เกลเข้าร่วมกระบวนการเทสเซอร่าหลายครั้ง ซึ่งทำให้มีชื่อของเขาในการจับฉลากจำนวนมากถึง 40 กว่าชื่อ


27. ซินน่า



แม้ว่าซินน่าจะอาศัยอยู่ในแคปปิตอล และทำงานเป็นนักออกแบบสำหรับการแข่งขัน The Hunger Games แต่ซินน่าไม่ได้เย็นชาหรือเหลาะแหละเหมือนกับผู้อาศัยในแคปปิตอลคนอื่นๆ

ซินน่าทำความรู้จักกับแคทนิส และช่วยเหลือเธอให้โดดเด่นกว่าผู้เข้าแข่งขันรายอื่นๆด้วยเครื่องแต่งกาย อันตระการตา นอกจากนี้เขายังให้คำปรึกษาเกี่ยวกับเกมการแข่งขันแก่เธออีกด้วย


28. ม็อคกิ้งเจย์



ม็อคกิ้งเจย์ (Mockingjay) เป็นนกพันธุ์ผสม เกิดขึ้นระหว่างการผสมข้ามสายพันธุ์ของนกม็อคกิ้งเบิร์ด (mockingbird) และนกแจ็บเบอร์เจย์ (jabberjay)

แคปปิคอลได้สร้างนกแจ็บเบอร์เจย์ขึ้นมา ซึ่งนกชนิดนี้สามารถฟังและเปลี่ยนสิ่งที่ได้ยินเป็นเสียงพูดได้ มันถูกใช้ในช่วงที่ความกลัวเริ่มแผ่ขยายและเริ่มมีการวางแผนปฏิวัติทั่วพา เน็ม แต่เมื่อประชากรในพาเน็มเริ่มรู้ความลับนี้ ก็พากันป้อนข้อมูลผิดๆให้แก่นก ทำให้แคปปิตอลทำการกวาดล้างแจ็บเบอร์เจย์ แต่แจ็บเบอร์เจย์ก็รอดจากการสูญพันธุ์และไปผสมข้ามสายพันธุ์กับนก ม็อคกิ้งเบิร์ดขึ้น ดังนั้นการพบเห็นนกม็อคกิ้งเจย์เมื่อใด ก็เป็นความอับอายอย่างที่สุดของเหล่าแคปปิตอล


29. เขตปกครองที่ 13



ครั้งหนึ่งเขตปกครองมีครบทั้ง 13 เขต แต่ในปัจจุบันเขตปกครองนี้ได้ถูกทำลายลงไปหมดแล้ว เนื่องจากเขตปกครองที่ 13 ทำการปฏิวัติและต่อต้านแคปปิตอล ส่งผลให้แคปปิตอลทำการกวาดล้างและระเบิดเขตนี้จนสูญหายไปจากแผนที่ หลังจากนั้นแคปปิตอลจึงมีการจัดการแข่งขัน The Hunger Games ขึ้นเพื่อเป็นสิ่งเตือนใจเขตปกครองอื่นๆที่เหลือ และเป็นตัวอย่างให้ทราบว่าถ้ามีการปฏิวัติอีกเมื่อใด ก็จะเป็นเหมือนกับเขตปกครองที่ 13

30. ริว



Tribute ที่อายุน้อยที่สุดในเกมการแข่งขันครั้งที่ 74 ของ The Hunger Games เด็กสาวจากเขตปกครองที่ 11 คนนี้เพิ่งมีอายุเพียง 12 ปีเท่านั้น

ก่อนที่จะถูกเลือกเข้าร่วมแข่งขัน ริวทำงานในสวนผลไม้ ทักษะที่โดดเด่นของเธอก็คือความว่องไว
 
 
31. ประธานาธิบดีสโนว์



ผู้ปกครองอำนาจของเมืองพาเน็มมากว่า 25 ปี ประธานาธิบดีสโนว์คนนี้เป็นคนที่ไร้ความปรานี และจิตใจโหดเหี้ยมสุดๆ ในหนัง The Hunger Games เขาจะออกมาเพียงแค่ต้อนรับเหล่า Tribute ทั้งหลายเข้าสู่แคปปิตอล บทนี้นำแสดงโดยโดนัลด์ ซุทเธอร์แลนด์


32. แกรี่ รอสส์




ผู้กำกับของหนังเรื่องนี้ เป็นที่รู้จักจากการได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์จากเรื่อง Big, Dave และ Seabiscuit เขาได้รับเลือกให้มากำกับเรื่องราวในหนังสือ The Hunger Games ขึ้นจอภาพยนตร์ เมื่อสตูดิโอไลออนเกตส์ได้สิทธิ์สร้างและจัดจำหน่าย

“ผมอ่านหนังสือเรื่องนี้แล้ว” รอสส์กล่าว “ลูกของผมแนะนำให้อ่าน และหลังจากนั้นผมก็เพี้ยนไปเลย ผมอ่านมันอย่างตั้งใจและพูดกับตัวเองว่า ผมจะต้องทำมันเป็นหนังให้ได้!”


33. เจนนิเฟอร์ ลอว์เรนซ์



นักแสดงสาวจากภาพยนตร์ Winter’s Bone ที่ทำให้เธอได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ รับบทเป็นแคทนิส หลังจากที่กองถ่ายค้นหาอยู่นาน เหล่าแฟนคลับของหนังสือเป็นกังวลกับการคัดเลือกนักแสดงนำมาก แม้ว่าจะมีเจ้าของหนังสืออย่างซูซาน คอลลินส์คอยเป็นคนพิจารณาก็ตาม

ในวันที่ 18 พฤษภาคม 2011 เจนนิเฟอร์ ลอว์เรนซ์ก็เปิดเผยตัวในเครื่องแต่งกายของแคทนิสบนปกของนิตยสาร EW ซึ่งก็ไม่มีเสียงต่อต้านใดๆต่อการเข้ามารับบทนำของเธอ


34. การคัดเลือกตัวละครแคทนิส



“ลอว์เรนซ์เข้ามารับบทนี้ได้อย่างไร นะ? ผมเป็นแฟนคลับของเขาเลยนะ” ผู้กำกับแกรี่ รอสส์บอก “เมื่อคุณเห็นนักแสดงซักคนที่ดูเพียบพร้อมอย่างนี้ มันค่อนข้างที่จะโชคดีเลยทีเดียว กว่าจะหาคนแบบนี้มาได้”

35. ตัวละครนำ



สำหรับรอสส์แล้ว มันเกี่ยวกับแคทนิสทั้งหมด “ตัวละครแคทนิสมันเหลือเชื่อมาก” เขาพูดอย่างตื่นเต้น “ซูซานเขียนออกมาได้เยี่ยมจริงๆ สร้างตัวละครที่มีชีวิตชีวาตัวนี้ขึ้นมาได้”

“ในแต่ละวันมีสิ่งตื่นเต้นเกิดขึ้นมากมาย เธอเป็นตัวละครที่ต้องต่อสู้อย่างยากลำบาก เราจะเห็นการเติบโตของตัวละครตัวนี้ที่เตี่ยมเปี่ยมไปด้วยความเข้มแข็ง”


36. ตัวละครต้นแบบ



“เธอเป็นตัวละครสำคัญของเด็กๆเลยที เดียว” รอสส์กล่าวถึงตัวละครแคทนิสในเรื่อง “เพราะเธอเริ่มจากการต่อสู้เพื่อเอาชีวิตรอด และหลังจากจบเรื่องราวนี้แล้ว เธอก็เรียนรู้อะไรจากหลายๆอย่างในชีวิต”

“มีหลายสิ่งที่สำคัญกว่าการเอาชีวิตรอดไปวันๆ และความหมายที่แท้จริงของการมีชีวิตอยู่คืออะไรล่ะ?”


37. จอช ฮัทเชอร์สัน



แฟนคลับอันเหนียวแน่นของหนังสือเรื่อง นี้อย่างจอช ฮัทเชอร์สัน ค่อนข้างพยายามอย่างหนักเพื่อจะได้มารับบทตัวละครหลักในเรื่องอย่างพีต้า เมลลาร์ก เขาเอาชนะคู่แข่งอย่าง ลูคัส ทิลล์ (X-Men: First Class), อีวาน ปีเตอร์ส (Kick-Ass) และฮันเตอร์ พาร์รัช (Weeds)

“กว่าจะได้มาเป็นส่วนหนึ่งในหนังเรื่องนี้ มันเหมือนกับ ใครก็ได้ช่วยหยิกผมทีซิ จะได้รู้ว่านี่มันเรื่องจริง” ฮัทเชอร์สันกล่าว “ผมยังไม่เชื่อเลยว่าเรื่องนี้มันเกิดขึ้นจริง”



38. เลียม เฮมส์เวิร์ธ



น้องของนักแสดงคริส เฮล์มเวิร์ธ จากหนัง Thor เฮมส์เวิร์ธผู้น้องเข้ามารับบทในหนังไตรภาคเรื่องยิ่งใหญ่ The Hunger Games รับบทเป็น เกล

“พี่ชายผมบอกผมก่อนที่จะเริ่มถ่ายทำหนังเรื่องนี้ เขาส่งข้อความหาผมและบอกบางสิ่งเกี่ยวกับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นของผม จริงๆแล้วประเด็นของเขาที่จะบอกผมก็คือ หนังเรื่องนี้มันคือ The Hunger Games ไม่ใช่ The Eating Games เหมือนผมโดนถีบหน้าเลย นี่พี่กำลังจะบอกว่าผมอ้วนใช่มั้ย หรืออะไร?”



39. วู้ดดี้ ฮาร์เรลสัน



จะมีใครดีไปกว่าการรับบทคนขี้เหล้าไป กว่า วู้ดดี้ ฮาร์เรลสันล่ะ? ด้วยการเข้ามารับบทเฮย์มิทช์ในครั้งนี้ ทำให้เวอร์ชั่นภาพยนตร์มีความน่าดูเพิ่มขึ้นมาก

“ผมไม่เห็นว่าเนื้อเรื่องมันจะดูมืดมนเท่าไร” เขากล่าว “มันตื่นเต้นนะ แต่ไม่ค่อยป่าเถื่อนเมื่อเทียบกับสิ่งที่ผมเคยเห็นมา แม้ว่าจะมีแต่เรื่องราวการฆ่าฟันกัน แต่ประเด็นหลักมันกล่าวถึงเด็กสาวนักสู้คนหนึ่ง”


40. การร่วมมือกัน



คล้ายๆกับ เจเค โรวลิ่งที่เป็นส่วนประกอบสำคัญในการสร้างหนังพ่อมด Harry Potter ที่นำจินตนาการของเธอขึ้นจอ ผู้เขียนหนังสือเรื่องนี้อย่างคอลลินส์ก็มีความสำคัญเช่นกัน เพราะช่วยให้คำแนะนำทุกอย่างในกองถ่ายเพื่อให้มีความเหมาะสม

“ผมต้องการให้เธอมาอยู่ในกองถ่ายนานเท่าที่จะเป็นไปได้” รอสส์กล่าวในระหว่างการถ่ายทำ “ผมอยากให้เธอมาอยู่ข้างๆผมทุกวัน”
 
 
41. บทภาพยนตร์



คอลลินส์ได้เพิ่มเติมเนื้อหาในบทร่างสุดท้ายให้แก่หนัง The Hunger Games ตามความต้องการของผู้กำกับ

“เราร่วมมือกันเขียนบทร่างสุดท้ายด้วยกัน” รอสส์บอก “ผมเขียนบทคร่าวๆ และซูซานกับผมก็ค่อยๆเขียนเนื้อเรื่องต่อ และปิดท้ายด้วยบทร่างสุดท้าย เธอเยี่ยมมากจริงๆ”




42. มัทเทชั่นส์




อาวุธชีวภาพที่สร้างขึ้นโดยแคปปิตอล มัทเทชั่นส์ (muttations) หรือเรียกย่อๆว่า มัทส์ (mutts) เป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้ต่อต้านการกระทำของประชากรในพาเน็ม แจ็บเบอร์เจย์ที่กล่าวไปแล้วก็เป็น muttation ชนิดหนึ่ง


43. แทร็คเกอร์ แจ็คเกอร์




อีกประเภทหนึ่งของมัทเทชั่นส์ แทร็คเกอร์ แจ็คเกอร์ (tracker jacker) เป็นตัวต่อประเภทหนึ่งที่มีเหล็กไนร้ายแรง ถูกใช้ในการก่อกบฏครั้งแรกของเขตปกครอง เหล็กไนเล็กๆสามารถรบกวนการทำงานของประสาท ทำให้ประสาทหลอน แต่ถ้าโดนเหล็กไนหลายอันก็จะทำให้การเคลื่อนที่ช้าลงไปจนถึงตายอย่างทรมาน

44. สนามแข่งขัน



สถานที่นี้จะเป็นที่จัดกิจกรรม ซึ่งในแต่ละปีเหล่า Tribute ทั้งหลายก็จะถูกปล่อยตัวสู่สนามแข่งขันที่สร้างขึ้นสำหรับ The Hunger Games

แต่ละการแข่งขันในแต่ละปี สนามแข่งขันก็จะมีรูปลักษณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป สำหรับเหตุการณ์ในหนัง The Hunger Games สนามแข่งขันจะเป็นป่ารกร้าง คอลลินส์ให้ความช่วยเหลือเล็กๆในการช่วยคิดสนามแข่งขันขึ้นมา ถึงขนาดไปดูหนัง Rambo เพื่อช่วยให้คิดออกว่าอาวุธที่จะใช้ต้องมีอะไรบ้าง


45. บริเวณเริ่มเกม



เป็นจุดศูนย์กลางของสนามแข่งขัน บริเวณเริ่มเกมหรือ cornucopia มีลักษณะเป็นเสาหินสีทองทรงกรวยสูง 20 ฟุต เป็นสถานที่เริ่มการแข่งขันในทุกๆปี ซึ่งจะมีผู้เข้าแข่งขัน 24 คนยืนรายล้อม

บริเวณเริ่มเกมจะมีของสำคัญที่จะช่วยเหลือผู้เข้าแข่งขันแต่ละคนในเกม ซึ่งประกอบไปด้วย อาหารและอาวุธ เหมือนเป็นสนามเลือดแห่งแรกที่ทุกคนต้องแย่งชิงเสบียงเพื่อเอาชีวิตรอด


46. Catching Fire



หนังสือเล่มที่สองของนวนิยาย The Hunger Games ที่จะกล่าวถึงเขตปกครองอื่นๆในพาเน็ม นอกเหนือจากที่กล่าวใน The Hunger Games โดยกล่าวถึงเหตุการณ์ต่อเนื่องจากเล่มแรก

เวอร์ชั่นภาพยนตร์ของ Catching Fire ถูกวางกำหนดฉายเอาไว้ล่วงหน้าแล้วคร่าวๆ เป็นในวันที่ 22 พฤศจิกายน 2013


47. Mockingjay



หนังสือเล่มที่สามของนวนิยาย The Hunger Games ตั้งแต่เมื่อครั้งวางแผง เหล่าแฟนคลับทั้งหลายต่างตั้งตารอคอยกันหน้าร้านหนังสือแต่ละแห่ง ที่อุตส่าห์เปิดร้านจนถึงเที่ยงคืนเพื่อต้อนรับเหล่าแฟนคลับ

เวอร์ชั่นภาพยนตร์ของ Mockingjay จะเกิดขึ้นแน่นอน เมื่อหนังภาคแรกประสบความสำเร็จ แต่ยังไม่ได้วางกำหนดใดๆไว้



48. 23 มีนาคม 2012



วันเข้าฉายในอเมริกาของหนัง The Hunger Games ที่จะเปิดตัวด้วยจำนวนโรงฉายที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์ของสตูดิโอไลออนเกตส์ มากกว่า 4 พันโรงฉายในอเมริกา

49. ผลงานต่อไป



คอลลินส์กำลังง่วนอยู่กับการทำงานหนังสือเด็กเล่มใหม่ที่อ้างอิงจากประสบการณ์ในสงครามของพ่อเธอ

“ฉันอยากเขียนหนังสือเรื่องนี้จริงๆ อย่างแรก มันเป็นเสี้ยวหนึ่งในความทรงจำอันมีค่าของครอบครัวของฉัน และสอง เพราะว่าฉันรู้ว่าเด็กกำลังประสบปัญหานี้อยู่ มีพ่อแม่ที่ทารุณ” คอลลินส์กล่าว “และนั่นเป็นสิ่งที่ฉันต้องการ สื่อสารประสบการณ์ชีวิตของฉันแก่พวกเขา”


50. การเดินหน้าต่อ



“ฉันไม่ใช่คนที่มีจินตนาการมากเท่าไร” คอลลินส์บอกหลังจากที่ใช้จินตนาการอันล้ำเลิศเขียนเรื่องราวใน The Hunger Games ไปแล้ว

“ฉันเป็นนักเขียนมานานแล้ว และตอนนี้ The Hunger Games ของฉันก็กำลังได้รับความสนใจ แต่มันก็จะผ่านไป ความสนใจจะไปตกอยู่กับสิ่งอื่น มันจะเปลี่ยนแปลงไปเสมอ มันเป็นอย่างนี้มาตลอด และนั่นก็เป็นสิ่งที่ฉันยอมรับได้”



Cradit : http://mckmarvel.wordpress.com/
 http://www.soccersuck.com/boards/topic/950665