10 เทศกาลแห่งความตาย

ใกล้วันฮาโลวีนซึ่งเป็นหนึ่งในเทศกาลที่เกี่ยวข้องกับ "ความตาย" เข้ามาทุกที แต่ทั่วโลกก็มีเทศกาลที่เกี่ยวข้องกับ "ความตาย" ไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นฝั่งตะวันตก และฝั่งตะวันออก และเทศกาลหลายๆ แห่งทั่วโลก ก็มีความเชื่อคล้ายๆ กัน รวมถึงบางเทศกาลก็แฝงไปด้วยความน่ากลัว ทีมงาน toptenthailand รวบรวมมาให้ใน 10 เทศกาลแห่งความตาย
จะมีอะไรบ้างไปชมพร้อมๆ กันเลยครับ 

เครดิต : คุณชายสิบหน้า
แหล่งที่มา : www.toptenthailand.com

10. ผีตาโขน


ผีตาโขน นั้น เดิมมีชื่อเรียกว่า ผีตามคน เป็นเทศกาลที่ได้รับอิทธิพลมาจากมหาเวสสันดรชาดก ชาดกในทางพระพุทธศาสนา ที่ว่าถึงพระเวสสันดร และพระนางมัทรี จะเดินทางออกจากป่ากลับสู่เมืองหลวง บรรดาสัตว์ป่ารวมถึงภูติผีที่อาศัยอยู่ในป่านั้น ได้ออกมาส่งเสด็จด้วยอาลัย และประเพณียังคงมีความเชื่อกันว่า สำหรับคนที่เล่นหรือมีการแต่งตัวเป็นผีตาโขนใหญ่ ต้องถอดเครื่องแต่งกายผีตาโขนใหญ่ออกให้หมดและนำไปทิ้งในแม่น้ำหมัน ห้ามนำเข้าบ้าน เป็นการทิ้งความทุกข์ยากและสิ่งเลวร้ายไป และรอจนถึงปีหน้าจึงค่อยทำเล่นกันใหม่

9. การเล่นผี ในเทศกาล สงกรานต์มอญ


การเล่นผี จะต้องมีเจ้าพิธี ทำหน้าที่เชิญผีเข้าสิงในร่าง เชิญผีออกจากร่าง ควบคุม กำกับและดูแลมิให้ผู้เล่นเป็นอันตราย เพราะเมื่อผีเข้าสิง ผู้เล่นไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ การเชิญผีเข้าสิงต้องจุดธูป เทียน มีดอกไม้เป็นเครื่องบูชา หากเชิญผีให้ออกจากร่างก็ต้องส่งเสียงดังๆ ที่หู การเล่นแต่ละครั้งควรมีผู้เล่น ๒ - ๓ คน จะสนุกกว่าเล่นคนเดียว ถือเป็นการเล่นที่มีคนสนใจดูไม่น้อยทีเดียว

8. เทศกาลเซ่นไหว้ภูติผียูหลัน


ผู้คนราว1.2 ล้านคนที่อาศัยอยู่ในฮ่องกงมีถิ่นกำเนิดมาจากเฉาโจวในมณฑลกวางตุ้งของจีน ในระหว่างเทศกาลวันสารทจีน พวกเขาจัดเทศกาลเซ่นไหว้ภูติผียูหลันตามแบบฉบับของตนเองขึ้นซึ่งกินเวลาตลอด เดือนเจ็ดทั้งเดือนตามปฏิทินจันทรคติ เทศกาลนี้จัดมานานกว่า100 ปี แล้วและได้รับการขึ้นทะเบียนอย่างเป็นทางการให้เป็นส่วนหนึ่งของมรดกทาง วัฒนธรรมของจีน ในระหว่างเดือนนี้ ทั่วฮ่องกงจะเต็มไปด้วยชาวจีนแต้จิ๋วที่ต่างออกมาจับจองพื้นที่สวนสาธารณะ ตลาด พื้นที่โล่ง และบริเวณอื่นๆที่มีพื้นที่มากพอให้ได้เซ่นไหว้บรรพบุรุษและบรรดาผีไร้ญาติ เริ่มปฏิบัติด้วยการจุดธูป เผากระดาษ โปรยข้าว และมีการแสดงงิ้วและละครในสไตล์แต้จิ๋วเพื่อเป็นการให้ความบันเทิงแก่บรรดา ภูติผี

7. ปลุกศพเดินกลับบ้าน


พิธีกรรมศพดังกล่าว เป็นของหมู่บ้านทานาโทราจาและหมู่บ้านมามาซา ซึ่งเป็นหมู่บ้านชนบทห่างไกลในอินโดนีเซีย ผู้คนที่นี่ เมื่อไรที่มีการตายเกิดขึ้น ว่ากันว่าจะมีการทำพิธีลี้ลับปลุกศพให้ลุกขึ้นมาเดินกลับบ้านเองได้ ด้วยความเชื่อที่ว่า ศพจะต้องเดินกลับมาเพื่อรับการฝังในบ้านเกิดของตัวเอง ในสภาพที่เหมือนกับมีลมหายใจทุกอย่าง เพื่อได้พบกับญาติพี่น้องอีกครั้ง บรรดาญาติพี่น้องและผู้นำในการทำพิธีที่กำลังพาศพกลับบ้าน จะมีการเตือนผู้คนที่เดินสวนไปมาระหว่างทางด้วยว่า ห้ามให้พวกเขาพูดกับศพ แต่ด้วยเหตุผลใดไม่ทราบแน่ชัด ดังนั้น ผู้คนที่ทำพิธีพาศพเดินกลับบ้านจึงมักจะเลือกทางเดินที่เงียบปราศจากผู้คน ที่สุด เป็นเส้นทางให้ศพได้เดินกลับบ้าน และนอกจากพิธีกรรมศพดังกล่าวจะทำกับศพคนแล้ว ยังทำกับสัตว์ที่ตายด้วย โดยเฉพาะเมื่อควายของชาวบ้านคนใดถูกนำไปทำพิธีบูชายันต์ด้วยการปาดคอควาย ทั้งยืน ควายตัวนั้นก็จะถูกประคองกลับบ้านในสภาพคอขาดอย่างนั้นนานกว่า 10 นาที ซึ่งถึงแม้ว่าจะเป็นภาพที่น่าสลดอย่างไร แต่สำหรับชาวบ้านในหมู่บ้านทานาโทราจาและหมู่บ้านมามาซา ก็คงจะได้เห็นกันจนชินตาไปเสียแล้ว

6. Frozen Dead Guy Days


เรียกกันแบบสยองๆว่า เทศกาลศพแช่แข็ง เป็นเทศกาลที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในรัฐโคโลราโด เนเธอร์แลนด์ ประวัติความเป็นมาของเทศกาลนี้มีอยู่ว่า นาย Trygve Bauge พาศพคุณตาแช่แข็งด้วยวิธีไครโอนิกส์มายังเมืองเนเธอร์แลนด์ เพื่อจะทำกิจการไครโอนิกส์ของครอบครัว แต่เมื่อเจอกับแม่พบปัญหากับทางเมืองทำให้ทั้ง 2 คน และศพคุณตาต้องอยู่ในบ้านมืด หลังจากออกข่าวท้องถิ่นชาวบ้านสงสาร จึงได้ความช่วยเหลือจากบริษัทน้ำแข็งแห้ง สถานีวิทยุเมืองเดนเวอร์ จัดตั้งที่เก็บศพคุณตา และในปี 2002 จึงมีการจัดงานเฉลิมฉลองศพคุณตา Bredo Morstoel อย่างเป็นทางการ ภายในงานไม่ได้มีการนำศพแช่แข็งมาโชว์แต่อย่างใด แต่้จะกิจกรรมสนุกๆสุดแหวกแนวมากมายให้ได้ีร่วมเล่นกัน ไม่ว่าจะเป็น การถอดเสื้อผ้าแ้ล้วกระโดดลงธารน้ำแข็ง, การแข่งขันวิ่งแบกโลงศพ, การแข่งขันขว้างปลาแช่แข็ง, การเดินขบวนพาเหรดการแต่งกายแบบศพ เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีคอนเสิร์ตที่เล่นให้ชมกันได้ตลอดวัน และซุ้มอาหารมากมายให้ได้ลองลิ้มรสกันอีกด้วย

5. เช็งเม้ง


เป็นพิธีกรรมที่ชนรุ่นหลัง แสดงถึงความกตัญญูที่มีต่อบรรพบุรุษ โดยก่อนที่จะถึงวันเซ่นไหว้สักสองสามวัน ลูกหลานก็จะชักชวนกันไปถางหญ้าบริเวณหลุมฝังศพ (บ่อง) ของบรรพบุรุษ ให้สะอาดเรียบร้อยปราศจากต้นไม้ หญ้ารกรุงรัง รวมทั้งบริเวณเจ้าที่ (ไท้เต่กัง) และพูนดินบนหลุมศพให้สูงขึ้น เมื่อถึงวันไหว้ลูกหลานก็จะเอากระดาษสีต่าง ๆ มาตกแต่งหลุมศพ การโดยกระดาษหลากสี อาจจะเป็นการให้เห็นได้ชัดว่า วันนี้ลูกหลานมาไหว้บรรพบุรุษเป็นการบอกให้รู้ว่า หลุมศพนี้มีลูกหลานมาเซ่นไหว้แสดงความระลึกถึง ความกตัญญูแล้ว ส่วนหลุมศพที่ไม่มีคนมาไหว้หลายๆ ปี นานไปก็จะสูญหายจากนั้นก็จะนำอาหารคาวหวานไปเซ่นไหว้ การนำกระดาษหลากสีไปประดับบนหลุมฝังศพ เปรียบกระดาษสี คือ เสื้อผ้าใหม่สำหรับผู้ตาย และการนำดินมากลบบนหลุมให้เป็นเนินสูง ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นการทำให้ลูกหลานทำมาหากินเพิ่มพูน หากหลุมศพใดไม่กลบดินหรือพอกพูนดิน ลูกหลานจะทำมาหากินไม่บังเกิด ไม่ มีทรัพย์สินเงินทองเพิ่มพูน อนึ่งในระยะนี้ ถ้าลูกหลานต้องการซ่อมแซมหลุมศพ (บ่อง) ให้ สวยงามก็สามารถทำได้

4. เทศกาลเฉียดตาย


La Fiesta de Santa Marta de Ribarteme เทศกาลเฉียดตาย เป็นการปะทะของ ศาสนา กับ คนนอกศาสนา และได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งใน เทศกาลที่ลบหลู่ศาสนามากที่สุดในโลก โดย จะจัดขึ้นทุกวันที่ 29 กรกฎาคม ของทุกปี เพื่อฉลองให้กับคนที่โกงโชคชะตาสำเร็จและรอดพ้นจากความตายในช่วง 12 เดือน ที่ผ่านมา โดยการนำเขาเหล่านั้นนอนชิลล์ในโลงศพ เดินขบวนแห่รอบเมือง พร้อมประกาศก้องเป็นเกียรติแด่ นักบุญ Marta de Ribarteme ผู้ชุบชีวิตใหม่ เป็นเทศกาลเฉียดตาย ที่อบอวลไปด้วยมวลชน ทั้งผู้ศรัทธาและผู้ฉงนสนเท่ห์ ทีมงาน toptenthailand ว่าดูๆ ไปแล้วก็เหมือนการนอนในโลงต่อชะตาบ้านเราเลยนะเนี่ย

3. วันแห่งความตาย (Days of the Dead)


มีขึ้นในประเทศเม็กซิโก วันแห่งความตาย (Los Dias de los Muertos) นับว่าเป็นอีกหนึ่งเทศกาลที่ทั่วโลกรู้กันดีถึงการฉลองให้กับคนตาย “ผู้ที่ยังอยู่” เชิญดวงวิญญาณ (ญาติสนิทเท่านั้น ไม่ใช่ใครก็ได้นะเออ) ให้มาเยี่ยมครอบครัว อย่างน้อยๆ ทั้งคนเป็นและคนตาย ทุกคนก็จะได้รับประทานขนมและอาหารในแบบสยองขวัญกันถ้วนหน้า จริงๆ แล้วเป็นเทศกาลต่อเนื่องจากเทศกาลฮาโลวีนนั้นเอง

2. เทศกาลบง


เป็นประเพณีของชาวญี่ปุ่นที่นับถือศาสนาพุทธ โดยที่ชาวญี่ปุ่นเชื่อกันว่าช่วงเวลาดังกล่าวบรรดาวิญญาณของบรรพบุรุษจะกลับ มาจากนรกภูมิ และจะมีการจุดไฟรอรับที่หน้าบ้าน จัดสำรับอาหารเลี้ยง การละเล่น ในวันสุดท้ายของเทศกาลจะมีการจุดไฟเพื่อส่งวิญญาณกลับ

1. เทศกาลฮาโลวีน


ถือเป็นเทศกาลที่โด่งดังที่สุดในบรรดาเทศกาลเกี่ยวกับผีทั้งหมด เพราะจะมีการจัดงานขึ้นทั่วโลก (ทั้งๆ ที่เป็นความเชื่อของฝรั่ง) แต่ฝั่งเอเชียบ้านเราก็ไม่น้อยหน้าจัดกันยิ่งใหญ่ไม่แพ้กันเลยทีเดียว